พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์
พระสัมพันธวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติพ.ศ. 2325
สิ้นพระชนม์สมัยรัชกาลที่ 3
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
พระมารดาพระชายาทองอยู่

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ (พ.ศ. 2325 — สมัยรัชกาลที่ 3) พระนามเดิม หม่อมเจ้าปฐมวงศ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกที่ประสูติตั้งแต่ประดิษฐานพระราชวงศ์ จึงได้พระนามว่า "ปฐมวงศ์"

พระประวัติ[แก้]

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2325[1] เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่ เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกที่ประสูติตั้งแต่ประดิษฐานพระราชวงศ์ จึงได้พระนามว่า ปฐมวงศ์ เดิมมีพระนามว่า หม่อมเจ้าปฐมวงศ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2329 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ มีพระโสทรภราดา และพระโสทรภคินี 5 พระองค์ คือ

  1. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระนามเดิม ปาน) ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์
  2. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ
  3. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระนามเดิม บัว)
  4. พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (พระนามเดิม แตง) ต้นราชสกุลเสนีวงศ์
  5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล

พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ผนวชที่วัดระฆังโฆษิตาราม โดยมีสุนทรภู่ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก[2] สุนทรภู่ได้แต่งกลอนกล่าวถึงพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไว้ว่า

กลับถึงกรุงมุ่งหน้ามาวังหลัง คอยยืนนั่งอยู่สนองรองพระบาท
รับใช้สงฆ์พระองค์เจ้าเฝ้าไม่คาด เป็นมหาดเล็กหลวงไม่ห่วงใคร
ทรงผนวชบวชพระวัดระฆัง ใกล้วังหลังริมแม่น้ำไหลฉ่ำใส
ท่านจึงทู้อยู่นี่ไม่หนีไป พึ่งอาศัยใบบุญอุ่นทุกครา
พระองค์นี้มีนามตามเผ่าพง ราชวงศ์องค์แรกไม่แปลกหนา
เป็นโอรสยศยิ่งแต่ชิงลา หลายพรรษาผนวชสิงสิ่งโปรดปราน
ด้วยเมตตามาเสมอเจอเรียกหา ภู่จึงมาเมียงมองจ้องรับขาน
หวังพระองค์ทรงใช้ได้สำราญ ถวายงานทุกวันมั่นชั่วกาล

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏพุทธศักราช[1] มีพระโอรสก่อนผนวช 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายนิต

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  2. ประวัติสุนทรภู่