ผ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ผ้าทอมือของภูฏาน

ผ้า คือ สิ่งที่ได้จากการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาสานหรือทอจนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ฝ้าย ใยไหม ไนลอน เป็นต้น ประโยชน์ของผ้าคือการนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ประเภทผ้าต่าง ๆ และในด้านอื่น ๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ เป็นต้น วัสดุหลักที่ ใช้ในการผลิตผ้า ได้แก่ วัสดุจากสัตว์ วัสดุจากพืช และจากการสังเคราะห์เคมี

ประวัติศาสตร์[แก้]

ผ้านั้นมีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช โดยจากการสำรวจพบผ้าลินินในถ้ำที่จอร์เจียเมื่อกว่า 134,000,463 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนึงเกี่ยวกับผ้าที่สำคัญ[1][2]

สำหรับปัจจุบันนั้นคุณภาพ และขนาดของผ้าจะถูกกำหนดโดยโรงงาน แต่เทคนิคการถักทอ และลวดลายบนผ้านั้นได้รับการสืบสานจากวัฒนธรรมโบราณ และการออกแบบสมัยใหม่จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย

ประเภทการใช้งาน[แก้]

ผ้านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่ที่พบมากที่สุดคือ การนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและภาชนะใส่ของ เช่น กระเป๋า และกระเช้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านด้วย เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู เป็นต้น รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้นำคุณสมบัติของผ้าไปใช้ในการกรองต่าง ๆ อีกด้วย

โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมมีการผลิตชุดสำหรับงานเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น ชุดสำหรับช่างซ่อมรถยนต์ที่มีความหนาเป็นพิเศษ ชุดสำหรับนักดับเพลิงที่มีความไวไฟต่ำ และชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรคโดยเฉพาะ เป็นต้น[3][4]

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้า[แก้]

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้านั้นมีหลายประเภท ดังนี้

  • สัตว์ วัสดุที่ได้จากจะนำมาจากผม ขน ผิวหนัง และเส้นใย (ดักแด้) ที่ได้จากสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อขนแกะ และผ้าไหม
  • พืช วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของพืช เช่น ใยสัปปะรด ใยฝ้าย เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อใยสัปปะรด เสื้อที่ทำจากฝ้ายสำหรับเด็กอ่อน
  • แร่ธรรมชาติ วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของแร่ธรรมชาติ เช่น ใยหิน และใยบะซอลต์ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ผ้าคลุมด้านล่างของประตูที่มีความทนทานมาก ๆ (นิยมในต่างประเทศ) สำหรับป้องกันรอยขีดข่วนจากสัตว์โดยเฉพาะ เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
  • สังเคราะห์เคมี วัสดุที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น ไนลอน เส้นใยทนไฟ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ถุงน่องของผู้หญิง เสื้อคลุมที่ติดไฟยากสำหรับนักดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้าทางการแพทย์อีกด้วย เช่น ชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Balter, M. (2009). "Clothes Make the (Hu) Man". Science. 325 (5946): 1329. doi:10.1126/science.325_1329a. PMID 19745126.
  2. Kvavadze, E.; Bar-Yosef, O.; Belfer-Cohen, A.; Boaretto, E.; Jakeli, N.; Matskevich, Z.; Meshveliani, T. (2009). "30,000-Year-Old Wild Flax Fibers". Science. 325 (5946): 1359. doi:10.1126/science.1175404. PMID 19745144. Supporting Online Material เก็บถาวร 2009-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Keim, Brandon (February 13, 2008). "Piezoelectric Nanowires Turn Fabric Into Power Source". Wired News. CondéNet. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  4. Yong Qin, Xudong Wang & Zhong Lin Wang (October 10, 2007). "Letter/abstract: Microfibre–nanowire hybrid structure for energy scavenging". Nature. Nature Publishing Group. 451 (7180): 809–813. doi:10.1038/nature06601. PMID 18273015. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13. cited in "Editor's summary: Nanomaterial: power dresser". Nature. Nature Publishing Group. February 14, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
  5. Trevisan, Adrian. "Cocoon Silk: A Natural Silk Architecture". Sense of Nature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-05.
  6. Fonte, Diwata (August 23, 2005). "Milk-fabric clothing raises a few eyebrows". The Orange County Register. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ผ้า