ผู้ใช้:Dexterpooh/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุออนไลน์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NLA Radio)
พื้นที่กระจายเสียงไทยประเทศไทย
แบบรายการ
ภาษาไทยภาษาไทย
รูปแบบข่าวสาร สาระ
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ผู้ประกอบธุรกิจนายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประวัติ
ยุติกระจายเสียงกรกฎาคม 2560 - ปัจจุบัน
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่ง499 อาคารสุขประพฤติ ชั้น 13 ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
ลิงก์
เว็บไซต์http://nlaradio.senate.go.th

ความเป็นมา[แก้]

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมกิจกรรมของเครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตย[1] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยให้การสนับสนุนเงินรางวัลในการจัดโครงการ/กิจกรรมของเครือข่ายผู้นำนักประชาธิปไตยวุฒิสภา ซึ่งเป็นผู้ผ่านการอบรมในโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" และภาคีเครือข่ายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สามารถจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่บทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้จัดให้มีโครงการย่อยเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชน[2] ซึ่งมีลักษณะโครงการเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือนำข้อมูลจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปออกอากาศผ่านวิทยุชุมชน และได้จัดให้มีเว็บไซต์ “รายการวิทยุชุมชนเครือข่ายนิติบัญญัติไทย” [1] เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมรายการวิทยุที่มีเนื้อหาด้านนิติบัญญัติ สำหรับให้สถานีวิทยุชุมชนที่เข้าร่วมโครงการใช้เป็นเครื่องมือหลักในการนำข้อมูลจากเว็บไซต์ดังกล่าวไปใช้ในการออกอากาศเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทและหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำหรับรายการวิทยุที่ใช้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวตามโครงการนั้น ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณะตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อย่างถูกต้อง จำนวน 4 รายการ ซึ่งเป็นรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา อันเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่

  1. รายการมองรัฐสภา
  2. รายการเจตนารมณ์กฎหมาย
  3. รายการกรรมาธิการพบประชาชน
  4. รายการเดินหน้ารัฐธรรมนูญไทย

จากการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น ได้รับผลตอบรับจากภาคีเครือข่ายฯ ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี โดยในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1 ครั้งที่ ... วันที่.... ได้พิจารณาเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบวิทยุออนไลน์ จึงมีมติให้ดำเนินการกำหนดแนวทาง และรูปแบบการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำวิทยุออนไลน์ในชื่อ "วิทยุสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" หรือ NLA Radio เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฯ ซึ่งไม่มีผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยเป็นการให้บริการกระจายเสียงที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์แม่ข่ายที่ http://nlaradio.senate.go.th และเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ www.senate.go.th

วิสัยทัศน์[แก้]

เป็นสื่อวิทยุอินเทอร์เน็ตด้านนิติบัญญัติของประเทศสำหรับประชาชนโดยนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง[แก้]

  1. เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในด้านการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. เพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ภารกิจ กิจกรรม ตลอดจนผลการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้เป็นที่แพร่หลายด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านนิติบัญญัติ ที่ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

พันธกิจ[แก้]

  1. ถ่ายทอดเสียงการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนกิจกรรมสำคัญในวงงานรัฐสภา
  2. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และสาระความรู้ด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความเป็นกลาง
  3. เป็นช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมของผู้ฟัง

การดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[แก้]

การดำเนินการวิทยุออนไลน์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[แก้]

สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน สำหรับงานดนตรีกรรม และงานสิ่งบันทึกเสียง[แก้]

เพื่อให้วิทยุสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NLA Radio) ใช้เพลงที่ได้นิยมจากประชาชนในบางช่วงเวลาของรายการ จึงได้ดำเนินการขอรับสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน สำหรับงานดนตรีกรรม และงานสิ่งบันทึกเสียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จาก... จำนวน ราย ดังนี้



ประวัติความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา[แก้]

ในปี พ.ศ. 2518 สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาได้ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา ซึ่งได้กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยได้กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของรัฐสภาและรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณรัฐสภา มีเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา และจะให้มีรองเลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและช่วยเลขาธิการรัฐสภาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้

ต่อมาปี พ.ศ. 2534 สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ได้มีการปรับปรุงกฎหมายของส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา โดยให้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้าราชการประเภทอื่นๆ และได้นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา(ฉบับที่..) พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลงมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรม และเป็นนิติบุคคล สำหรับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นหากจะจัดตั้งขึ้นก็ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ
  2. ให้โอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และบรรดาอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาตลอดจนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา มาเป็นของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยให้เลขาธิการรัฐสภา และรองเลขาธิการรัฐสภา ร่วมกันดำเนินการจัดแบ่งและกำหนดสถานที่ทำงาน
  3. ด้วยประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กำหนดให้ประกาศรัฐสภามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 93 ลงวันที่ 11 กันยายน 2535 ) จึงถือว่าวันที่ 12 กันยายน 2535 เป็นวันก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

[3]

เลขาธิการวุฒิสภา[แก้]

เลชาธิการวุฒิสภา เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง (นักบริหารระดับ 11 เดิม) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ


ลำดับ
รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายพินิต อารยะศิริ 12 กันยายน 2535 27 สิงหาคม 2544
2 นายจำนงค์ สวมประคำ 26 กันยายน 2544 30 กันยายน 2545
3 นายมนตรี รูปสุวรรณ 4 ตุลาคม 2545 28 กุมภาพันธ์ 2548
4 นางสุวิมล ภูมิสิงหราช 1 มีนาคม 2548 30 กันยายน 2553
5 นางนรรัตน์ พิมเสน 1 ตุลาคม 2553 30 กันยายน 2558
6 นางวรารัตน์ อติแพทย์ 1 ตุลาคม 2558 ปัจจุบัน
  1. http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/prakad2559/News%20Senate%202559/ประกาศสำนักงาน.pdf
  2. http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/prakad2559/News%20Senate%202559/รายละเอียด%20และใบสมัครกิจกรรมที่4.pdf
  3. http://www.senate.go.th/w3c/senate/secretariat.php