ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ประกอบการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเป็นผู้ประกอบการ (อังกฤษ: Entrepreneurship) คือ การสร้างหรือการสกัดคุณค่า [1][2][3] หากใช้คำนิยามเบื้องต้นนี้ การเป็นผู้ประกอบการอาจมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งเพื่อทำให้เกิดคุณค่าขึ้น นิยามเบื้องต้นนี้มีความหมายที่ครอบคลุมมากกว่าการประกอบธุรกิจ

ในนิยามที่แคบลงมานั้น การเป็นผู้ประกอบการ คือ กระบวนการในการออกแบบธุรกิจ เปิดตัวสินค้าหรือบริการของธุรกิจสู่สาธารณะ และ การประกอบธุรกิจใหม่ ซึ่งมักจะเริ่มต้นด้วยการเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (small business) ตัวอย่างเช่น ธุรกิจครอบครัวโดยมีสมาชิกในครอบครัวมาช่วยกันทำงานและสร้างกำไรกันในครอบครัว ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เริ่มจากผู้ก่อตั้งประมาณ 3-4 คน ช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น Wongnai และ Okkbee หรือแม้แต่จะเป็นธุรกิจที่เริ่มและดำเนินการด้วยตัวคนเดียว (Solopreneur) ก็ถือเป็นผู้ประกอบการเช่นกัน[4]

ส่วน ความเป็นผู้ประกอบการ หมายถึง "ความสามารถและความต้องการอย่างแรงกล้าในการพัฒนา ลงทุน และ บริหารจัดการธุรกิจ โดยพร้อมที่จะกล้ารับความเสี่ยงเพื่อให้ได้กำไร (profit)"[5] โดยเรียกกลุ่มคนที่สร้างธุรกิจของตัวเองขว่า ผู้ประกอบการ (entrepreneurs)[6][7]

ในทางเศรษฐศาสตร์ นิยามคำว่า ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถในการค้นหาโอกาส (เช่น สิ่งประดิษฐ์ หรือ เทคโนโลยี) และใช้โอกาสนั้นในการสร้างสินค้าและบริการ "ผู้ประกอบการสามารถเห็นศักยภาพเชิงพาณิชย์ของสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ และบริหารจัดการเงินทุน, ความสามารถในการผลิต หรือ ทรัพยากรการผลิตอื่น ๆ ที่มี เพื่อประยุกต์สิ่งประดิษฐ์ใหม่นั้น ให้กลายเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างผลกำไรได้"[8] ในนิยามนี้ คำว่า การเป็นผู้ประกอบการ จะรวมไปถึงการทำกิจกรรมทีเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของกิจการ ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ จะโฟกัสไปที่การสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์ จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

มุมมองต่อการเป็นผู้ประกอบการ

[แก้]

ในเชิงวิชาการ คำว่า Entrepreneurship (ความเป็นผู้ประกอบการ) มีแนวคิดหลากหลายมุมมองจากหลายสำนักในสาขาต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา และ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ[9][10] โดยนักวิชาการหลายคนมองว่าการเป็นผู้ประกอบการเกี่ยวข้องอย่างมากผู้ประกอบการ นักวิชาการเหล่านี้มักจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้ประกอบการทำและลักษณะพิเศษที่ผู้ประกอบการมี บางครั้งเรียกว่าวิธีการทำงานเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ ส่วนนักวิชาการสำนักอื่นมองที่กระบวนการการประกอบการ[11] แทนการเจาะกลุ่มไปที่กลุ่มบุคคลที่ประกอบกิจการ แนวทางนี้บางครั้งเรียกว่า แนวทางเชิงกระบวนการ (processual approach)[12]

พฤติกรรมความเป็นผู้ประกอบการ

[แก้]

ผู้ประกอบการมักถูกมองว่าเป็นนวัตกร (innovator) — ผู้ออกแบบไอเดียใหม่ ๆ และกระบวนการทางธุรกิจใหม่[13] ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จม มักเป็นผู้ความเป็นผู้นำ (leadership) สูง มีทักษะการจัดการและการสร้างทีม[14] นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอเมริกัน โรเบิร์ต ไรช์ (Robert Reich) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะที่จำเป็น 3 อย่างของผู้ประกอบการ ประกอบกอบด้วย ความเป็นผู้นำ (leadership), ความสามารถในการจัดการ (management ability) และ ความสามารถในการสร้างทีม (team-building)[15][16]

มุมมองต่อความไม่แน่นอน และ การรับความเสี่ยง

[แก้]

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีชาวอเมริกัน แฟรงค์ ไนท์ (Frank Knight)[17] และ ปีเตอร์ ดรักเคอร์ (Peter Drucker) ได้ให้นิยามคำว่า "ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)" ว่าเป็นความสามารถในการรับความเสี่ยงสูงได้ (risk-taking) ผู้ประกอบการคือผู้ที่ยอมเอาหน้าที่การงานหรือความปลอดภัยทางการเงินของพวกเขาแขวนไว้บนเส้นได้ และยอมรับความเสี่ยงเพื่อการสร้างธุรกิจจากไอเดีย ใช้ทรัพยากรเงินทุนและทรัพยากรเวลาไปกับการลงทุนที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมักจะไม่เชื่อว่าตัวเองรับความเสียงที่สูง เนื่องจากผู้ประกอบการมักจะมองเห็นความไม่แน่นอนในระดับที่ต่ำกว่าคนทั่วไป โดยแฟรงก์ ไนท์ ได้แยกความไม่แน่นอนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:

  • Risk (ความเสี่ยง) คือ ความไม่แน่นอนที่สามารถวัดได้ในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่หยิบจะได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และ สีฟ้า 5 ลูก)
  • Ambiguity (ความคลุมเครือ) คือ ความไม่แน่นอนที่วัดได้ยากในทางสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่มีบอลสีแดง 5 ลูก และบอลสีฟ้าที่ไม่รู้จำนวนลูกที่แน่นอน) ball from a jar containing five red balls but an unknown number of white balls)
  • True uncertainty (ความไม่แน่นอนที่แท้จริง) หรือ ความไม่แน่นอนแบบไนท์ (Knightian uncertainty) คือ ความไม่แน่นอนที่เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดด้วยหลักสถิติ (เช่น โอกาสที่จะหยิบได้บอลสีแดง จากโถที่ไม่รู้จำนวนบอล และไม่รู้สีของบอล)

การเป็นผู้ประกอบการมักเกี่ยวโยงกับความไม่แน่นอนที่แท้จริง โดยเฉพาะเวลาสร้างสินค้าและบริการสำหรับตลาดผู้บริโภคที่ไม่เคยมีมาก่อน (Blur ocean) แทนที่จะลงทุนสร้างสินค้าหรือบริการที่มีมาก่อนแล้ว มีงานวิจัย ปี ค.ศ.2014 ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช (ETH Zürich) ได้ทำการเปรียบเทียบผู้จัดการทั่วไปกับผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการจะมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่สูงกว่า และ มีกิจกรรมในสมองส่วน frontopolar cortex (FPC) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกับการสำรวจตัวเลือกต่าง ๆ (explorative choice)[18]

ความสามารถในการรับคำแนะนำ

[แก้]

ความสามารถในการทำงานร่วมและรับคำแนะนำ จากนักลงทุนรายเริ่มแรก (early investors) และหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุนคนอื่น ๆ (ความสามารถในการรับคำแนะนำ) คือปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับความสำเร็จของผู้ประกอบการ[19] ในอีกทางหนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์ก็ได้โต้เถียงว่าผู้ประกอบการไม่ควรทำตามึคำแนะนำทุกอย่างที่ได้รับ แม้ว่าคำแนะนำนั้นจะมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือก็ตาม เพราะผู้ประกอบการมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในธุรกิจที่ทำ มากกว่าบุคคลภายนอก ความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ (เช่น การวัดอัตราการรอดของกิจการ) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่ใหญ่และประกอบกิจการมายาวนาน (ซึ่งมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง) จะมีความสามารถในการรับคำแนะนำ (Coachability) ที่ต่ำกว่าทีมผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีขนาดเล็กและก่อตั้งมาไม่นาน

กลยุทธ์

[แก้]

กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการอาจใช้ มีดังนี้:

  • การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ (สินค้า บริการ หรือ กระบวนการผลิต)[20]
  • การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous process improvement (CPI))[20]
  • การสำรวจโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
  • การใช้เทคโนโลยี[20]
  • การใช้การวิเคราะห์ธุรกิจอัจฉริยะ (business intelligence)
  • การใช้กลยุทธ์ทางเศรษฐศาสตร์
  • การพัฒนาสินค้าและบริการแห่งอนาคต[20]
  • การพัฒนาและบริหารจัดการความสามารถของทีม[20]
  • กลยุทธ์การตลาดสำหรับเครือข่ายเชิงนวัตกรรม[21]

จิตวิทยาผู้ประกอบการ

[แก้]
ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล และ ผู้บริหารบริษัทแอปเปิลในอดีต สตีฟ จ็อบส์ Steve Jobs (รูปถ่าย ปี 2010) คือผู้ที่เปิดตัวนวัตกรรมหลายอย่างปฏิวัติวงการธุรกิจคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ ธุรกิจเพลงดิจิทัล

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เอ็ดเวิร์ด ลาซีร์ (Edward Lazear) อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยในปี ค.ศ.2005 เพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงในการแยกคนที่มีความเป็นผู้ประกอบการและคนที่ไม่มีความเป็นผู้ประกอบการ พบว่าการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน คือสองคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดในการจำแนกผู้คนที่มีความเป็นผู้ประกอบการ[22] ในปี ค.ศ.2013 มีการวิจัยโดยอาจารย์อูชิ บาเคส-เกลเนอร์ (Uschi Backes-Gellner) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซือริช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ เปตรา มูก อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซีเกน ประเทศเยอรมนี ได้ค้นพบว่าการมีเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวางนั้น ก็เป็นหนึ่งในอีกปัจจัยที่ทำให้บุคคล (นักศึกษา) คนหนึ่งนั้นกลายเป็นผู้ประกอบการ[23][24]

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ประกอบการเพศชายและเพศหญิงนั้น มีความคล้างคลึงกันด้านพฤติกรรมที่ค่อนข้างสูง โดยจากการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ พบว่าผู้ประกอบการเพศหญิงจะมีทักษะด้านการต่อรองและทักษะการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่สูง[25] นักวิจัยชาวสวีเดน โอซ่า แฮนสัน (Åsa Hansson) ที่ได้ทำวิจัยเรื่องความแตกต่างของผู้ประกอบการเพศหญิงและเพศชาย ได้ให้ข้อสรุปว่า ยิ่งผู้หญิงอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการก็ยิ่งน้อยลง ในทางกลับกัน ผู้ชายยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการสูงขึ้นตาม[26]

อาจารย์จิตวิทยาชาวเดนมาร์ก เยสปา โชแอนเซิน (Jesper Sørensen) ได้เขียนถึงเรื่องของอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ ไว้ในปี ค.ศ.2010 ซึ่งได้รวมไปถึงปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงานและปัจจัยด้านสภาพสังคม โดยเขาได้พบว่าการที่ทำงานกับคนที่เป็นผู้ประกอบการที่สำเร็จนั้น มีอิทธิพลให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นผู้ประกอบการในอนาคต เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำงานกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ[27] เนื่องจากทำให้บุคคลดังกล่าวมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ กล่าวคือ "ถ้าเขาทำได้ ทำไมฉันถึงจะทำไม่ได้?" อาจารย์โชแอนเซินได้กล่าวว่า "เมื่อคุณเจอคนที่ได้ประสบความสำเร็จแล้ว คุณก็จะรู้ว่าการประสบความสำเร็จนั้น มันเป็นไปได้"[28]

ผู้ประกอบการอาจได้แรงบันดาลใจให้กลายเป็นผู้ประกอบการได้จากประสบการณ์ที่ตนเองได้ประสบในอดีต โดยเฉพาะคนที่ถูกเลิกจ้าง มักจะมีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการที่สูง[26] จากแบบทศสอบบุคลิกภาพของเรย์มอน์ แคทเทลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ แคทเทลได้กล่าวว่าการเป็นผู้ประกอบการนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งบุคลิกภาพประจำตัวบุคคลและทัศนคติของบุคคล ทั้งสองอย่างคือปัจจัยทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของบุคคล[29]

ผู้ประกอบการนวัตกรรม มักจะมีประสบการณ์ทางจิตวิทยาแบบหนึ่ง ที่นักจิตวิทยาชาวฮังการี มิฮาย ชีคแซ็นต์มิฮายิ (Mihaly Csikszentmihalyi) เรียกว่า "โฟลว์ (flow)". "โฟลว์" คือ พฤติกรรมทางจิตวิทยาเวลาที่คนคนหนึ่งลืมสิ่งรอบตัวภายนอกเวลาทำงาน หรือ ทำกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง มิฮายได้กล่าวว่านวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการต่าง ๆ นั้น มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาทางจิตวิทยาดังกล่าว[30]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Diochon, Monica; Anderson, Alistair R. (2011-03-01). "Ambivalence and ambiguity in social enterprise; narratives about values in reconciling purpose and practices". International Entrepreneurship and Management Journal (ภาษาอังกฤษ). 7 (1): 93–109. doi:10.1007/s11365-010-0161-0. hdl:10059/613. ISSN 1555-1938.
  2. Gaddefors, Johan; Anderson, Alistair R. (2017-01-01). "Entrepreneursheep and context: when entrepreneurship is greater than entrepreneurs". International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research. 23 (2): 267–278. doi:10.1108/IJEBR-01-2016-0040. hdl:10059/2299. ISSN 1355-2554.
  3. Alvarez, Sharon A.; Busenitz, Lowell W. (2001-12-01). "The entrepreneurship of resource-based theory". Journal of Management (ภาษาอังกฤษ). 27 (6): 755–775. doi:10.1177/014920630102700609. ISSN 0149-2063.
  4. "Entrepreneur / Entrepreneurship คืออะไร เริ่มต้นอย่างไร". HardcoreCEO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-21.
  5. "Business Dictionary definitionyuuggtygn". Business Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-08-18.
  6. AK Yetisen; LR Bob Volpatti; AF Coskun; S Cho; E Kamrani; H Butt; A Khademhos\\seini; SH Yun (2015). "Entrepreneurship". Lab Chip. 15 (18): 3638–3660. doi:10.1039/c5lc00577a. PMID 26245815.
  7. Katila, Riitta; Chen, Eric L.; Piezunka, Henning (7 June 2012). "All the right moves: How entrepreneurial firms compete effectively" (PDF). Strategic Entrepreneurship JNL. 6 (2): 116–132. doi:10.1002/sej.1130. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  8. Audretsch, David B.; Bozeman, Barry; Combs, Kathryn L.; Feldman, Maryann; Link, Albert N.; Siegel, Donald S.; Stephan, Paula; Tassey, Gregory; Wessner, Charles (2002). "The Economics of Science and Technology". The Journal of Technology Transfer. 27 (2): 157. doi:10.1023/A:1014382532639.
  9. Lindgren, Monica; Packendorff, Johann (2009-01-01). "Social constructionism and entrepreneurship: Basic assumptions and consequences for theory and research". International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research. 15 (1): 25–47. doi:10.1108/13552550910934440. ISSN 1355-2554.
  10. Neergaard, Helle; Ulhøi, John P. (2007). Handbook of Qualitative R Methods in Entrepreneurship (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-84720-438-7.
  11. Olaison, Lena (2014). Entrepreneurship at the limits. Frederiksberg: Copenhagen Business School (CBS). ISBN 978-87-93155-25-1.
  12. Olaison, Lena (2014). Entrepreneurship at the limits. Frederiksberg: Copenhagen Business School (CBS). ISBN 978-87-93155-25-1.
  13. Investopedia; Investopedia.com; access date.
  14. Prive, Tanya (19 December 2012). "Top 10 Qualities That Make A Great Leader". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  15. Cantillon, Richard (1755). Essai sur la Nature du Commerce en Général. Londres, Chez Fletcher Gyles.
  16. Drucker, Peter F. (1985). Innovation and Entrepreneurship. attributes the coining and defining of "entrepreneur" to Jean-Baptiste Say in his A Treatise on Political Economy; (1834).
  17. Knight, Frank Hyneman (2005). Risk, Uncertainty and Profit. Cosimo, Inc. ISBN 978-1-59605-242-0.
  18. Laureiro-Martínez, Daniella; Canessa, Nicola; Brusoni, Stefano; Zollo, Maurizio; Hare, Todd; Alemanno, Federica; Cappa, Stefano F. (22 January 2014). "Frontopolar cortex and decision-making efficiency: comparing brain activity of experts with different professional background during an exploration-exploitation task". Frontiers in Human Neuroscience. 7: 927. doi:10.3389/fnhum.2013.00927. PMC 3897871. PMID 24478664.
  19. Timmons, Jeffry A.; Bygrave, William D. (1986). "Venture capital's role in financing innovation for economic growth". Journal of Business Venturing. 1 (2): 161–176. doi:10.1016/0883-9026(86)90012-1.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Qureshi, Hamid (3 September 2015). "Decoding Right Strategies for Entrepreneurship". Greater Kashmir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  21. Adel, H.M.; Mahrous, A.A.; Hammad, R. (2020). "Entrepreneurial marketing strategy, institutional environment, and business performance of SMEs in Egypt". Journal of Entrepreneurship in Emerging Economies (ahead-of-print). doi:10.1108/JEEE-11-2019-0171.
  22. Lazear, Edward (2005). "Entrepreneurship". Journal of Labor Economics. 23 (4): 649–680. doi:10.1086/491605.
  23. Backes-Ge1llner, Uschi; Moog, Petra (December 2013). "The disposition to become an entrepreneur and the jacks-of-all-trades in social and human capital". The Journal of Socio-Economics. 47: 55–72. doi:10.1016/j.socec.2013.08.008.
  24. Baer, Drake (19 February 2015). "Scientists have discovered a personality difference between entrepreneurs and employees". สืบค้นเมื่อ 25 February 2015.
  25. Muljadi, Paul (บ.ก.). Entrepreneurship. Paul Muljadi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2013.
  26. 26.0 26.1 Hansson, Åsa (2012). "Tax policy and entrepreneurship: empirical evidence from Sweden". Small Business Economics. 38 (4): 495–513. doi:10.1007/s11187-010-9282-7. S2CID 153414747.
  27. Sørensen, J.; Nanda, R. (July 2010). "Workplace Peers and Entrepreneurship" (PDF). Management Science. 56 (7): 1116–1126. doi:10.1287/mnsc.1100.1179. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  28. "Peers Influence Decision to Become an Entrepreneur". Stanford Graduate School of Business; News. 1 September 2009. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  29. ENTREPRENEURIAL BEHAVIOR, Retrieved 17 December 2014.[ลิงก์เสีย]
  30. Csikszentmihalyi, Mihaly (13 October 2009). Flow. HarperCollins. ISBN 978-0-06-187672-1.