ข้ามไปเนื้อหา

ปัญหารถราง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญหารถราง: คุณควรดึงคนโยกเพื่อให้รถรางเปลี่ยนเส้นทางหรือไม่?

ปัญหารถราง เป็นการทดลองทางความคิดเชิงจริยธรรม ปัญหามีดังต่อไปนี้

รถรางคันหนึ่งกำลังวิ่งบนอยู่บนรางรถไฟ บนรางข้างหน้านั้นมีคน 5 คนกำลังถูกมัดอยู่บนรางและไม่สามารถขยับตัวได้ รถรางคันดังกล่าวกำลังวิ่งไปหาพวกเขา คุณกำลังยืนอยู่ข้างคันโยกที่ตั้งอยู่ในระยะห่างไกลจากรางรถไฟ ถ้าคุณดึงคันโยก รถรางจะสับเปลี่ยนเส้นทางไปอีกรางหนึ่ง แต่ทว่า คุณสังเกตเห็นว่าบนรางนั้นมีคนอยู่ 1 คน คุณมี 2 ทางเลือก

  1. ไม่ทำอะไรและปล่อยให้รถรางสังหารคน 5 คนบนรางหลัก
  2. ดึงคันโยก ส่งผลให้รถรางเปลี่ยนเส้นทางและสังหารคน 1 คนบนรางนั้น

ข้อใดเป็นการกระทำที่มีจริยธรรมมากที่สุด?

ปัญหาดังกล่าวคิดค้นโดย ฟิลิปปา ฟุต (Philippa Foot) ในปี 1967[1] โดยมี จุดิธ ทอมสัน,[2][3] ฟรานเศส คัม,[4] และ ปีเตอร์ อุนเจอร์[5] เป็นผู้ครุ่นคิดถึงคำตอบของปัญหานี้

ตั้งแต่ปี 2001 ปัญหารถรางเป็นนิยมใช้อย่างกว้างขวางในการวิจัยจิตวิทยาคุณธรรม และเป็นที่กล่าวขานในหนังสือยอดนิยมต่าง ๆ[6] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตรถยนต์ไร้คนขับ

ปัญหาอื่นๆ

[แก้]
รูปแบบย่อยทั้งห้าของปัญหารถแรง ได้แก่ แบบดั้งเดิม, คนอ้วน, คนร้ายอ้วน, แบบวนกลับ, และคนในสวน

การขบคิดปัญหารถรางนำไปสู่ปัญหาทางจริยธรรมอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันดังนี้

คนอ้วน

[แก้]

เช่นเดิม รถรางคันหนึ่งกำลังวิ่งบนรางไปบนทางที่จะชนคน 5 คน คุณอยู่บนสะพานเหนือรางรถไฟนั้น คุณสามารถหยุดรถรางได้ด้วยการผลักของหนักๆ ลงไปบนราง ข้างๆ คุณมีคนอ้วนมากคนหนึ่งยืนอยู่ ทางเดียวที่จะหยุดรถรางนั้นได้คือคุณต้องผลักคนอ้วนคนนี้ลงไปบนราง ทำให้เขาเสียชีวิต แต่จะช่วยชีวิตคนทั้ง 5 ได้ คุณจะทำหรือไม่

คนร้ายอ้วน

[แก้]

ปัญหารถรางแบบวนกลับ

[แก้]

การปลูกถ่ายอวัยวะ

[แก้]

คนในสวน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Philippa Foot, The Problem of Abortion and the Doctrine of the Double Effect in Virtues and Vices (Oxford: Basil Blackwell, 1978) (originally appeared in the Oxford Review, Number 5, 1967.)
  2. Judith Jarvis Thomson, Killing, Letting Die, and the Trolley Problem เก็บถาวร 2017-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 59 The Monist 204-17 (1976)
  3. Judith Jarvis Thomson, The Trolley Problem เก็บถาวร 2015-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 94 Yale Law Journal 1395–1415 (1985)
  4. Francis Myrna Kamm, Harming Some to Save Others, 57 Philosophical Studies 227-60 (1989)
  5. Peter Unger, Living High and Letting Die (Oxford: Oxford University Press, 1996)
  6. https://www.nytimes.com/2013/11/24/books/review/would-you-kill-the-fat-man-and-the-trolley-problem.html?_r=0