ข้ามไปเนื้อหา

ปลาแก้มช้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาแก้มช้ำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Systomus
สปีชีส์: S.  rubripinnis
ชื่อทวินาม
Systomus rubripinnis
(Valenciennes, 1842)
ชื่อพ้อง
  • Barbus orphoides Valenciennes, 1842
  • Barbodes sarana orphoides (Valenciennes, 1842)
  • Puntius orphoides (Valenciennes, 1842)
  • Puntius sarana orphoides (Valenciennes, 1842)
  • Systomus orphoides (Valenciennes, 1842)
  • Barbus rubripinna Valenciennes, 1842
  • Barbodes rubripinna (Valenciennes, 1842)
  • Puntius rubripinna (Valenciennes, 1842)
  • Barbus sarananella Bleeker, 1849
  • Barbus caudimarginatus Blyth, 1860
  • Barbus sarana caudimarginatus Blyth, 1860
  • Barbus oatesii Boulenger, 1893
  • Hypsibarbus oatesii (Boulenger, 1893)
  • Barbus sewelli Prashad & Mukerji, 1929
  • Puntius simus Smith, 1945

ปลาแก้มช้ำ (อังกฤษ: Red cheek barb, Javaen barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Systomus rubripinnis[1]) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B. altus) หรือ ปลากระแห (B. schwanenfeldii) เป็นต้น

มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ภาษาใต้เรียก "ปลาลาบก", ภาษาเหนือเรียก "ปลาปกส้ม", ภาษาอีสานเรียก "ปลาสมอมุก" หรือ "ปลาขาวสมอมุก" เป็นต้น เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้กระจกสีสันจะสวยกว่าปลาที่อยู่ในธรรมชาติ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. นิตยสาร The FISH MAX ปีที่ 4 ฉบับที่ 55: กุมภาพันธ์ 2014
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 151. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]