ปลาหมอฟลามิงโก้
ปลาหมอฟลามิงโก้ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Cichlidae |
สกุล: | Amphilophus |
สปีชีส์: | A. citrinellus |
ชื่อทวินาม | |
Amphilophus citrinellus (Günther, 1864) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาหมอฟลามิงโก้ หรือ ปลาหมอไมดาส (อังกฤษ: Red devil cichild, Midas cichlid; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphilophus citrinellus) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)
พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาหมอสีที่มีรูปร่างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะยาวได้ 25-30 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนกว้าง ส่วนหัวจะมีโหนกนูนอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา ตาสีดำ ครีบอกแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย ครีบกระโดงหลังจะเรียวยาวแผ่กว้างไปทางด้านหลัง ครีบท้อง 2 อันเท่ากัน ขณะที่ครีบทวารจะแผ่กว้างคล้ายครีบกระโดงแต่ไม่ยาวมาก ครีบหางแผ่กว้างปลายมนเล็กน้อย
ลำตัวมีสีหลากหลายทั้งสีส้ม, เหลือง, ขาว ปนอยู่ โดยมีแถบสีดำแซม ขึ้นอยู่กับที่การเปลี่ยนสี หรือ "การลอก" ในภาษาเฉพาะของวงการปลาสวยงามว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งปลาที่มีสีส้มหรือแดง นิยมเรียกว่า ปลาหมอเรดเดวิล หรือ ปลาหมอเรดอเมริกา
ปลาหมอฟลามิงโก้เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว หวงอาณาเขตเป็นปลาที่อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ชอบขุดคุ้ยซอกหิน ซอกไม้ ในการหลบซ่อนตัว โดยเฉพาะปลาตัวผู้ที่มีโหนกใหญ่บนหัวจะก้าวร้าวมาก
ปลาหมอฟลามิงโก้ นั้นสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงตั้งแต่ขนาด 24 นิ้วขึ้นไป โดยวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือหิน ตัวเมียเมื่อมีความสมบูรณ์เต็มที่จะออกไข่ได้ครั้งละ 400-800 ฟอง ลักษณะไข่มีสีเหลืองนวล ไข่ใช้เวลา 3 วัน ในการฟักเป็นตัว แยกเพศโดยการสังเกตที่ส่วนท้อง ช่องเพศของตัวเมียจะมีลักษณะกลมใหญ่กว่า ขณะที่ตัวผู้จะยาวแหลมยื่นออกมา และมีลำตัวและส่วนหัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด
ปลาหมอฟลามิงโก้ ถือเป็นปลาชนิดที่เป็นต้นแบบของปลาหมอลูกผสม หรือที่เรียกกันว่า ครอสบรีด เช่น ปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นต้น [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ ปลาหมอฟลามิงโก ต้นตระกูลของปลา Cross Breed, หน้า 100-102 คอลัมน์ มองปลาตากลม โดย ไม้น้ำ. นิตยสาร fishzone ฉบับที่ 24 ปีที่ 3: 15 พฤษภาคม-15 มิถุนายน พ.ศ. 2545
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Amphilophus citrinellus ที่วิกิสปีชีส์