ปลามงโกรย
สำหรับปลามงโกรยที่เป็นปลาน้ำจืดดูที่: ปลาหมากผาง
ปลามงโกรย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Clupeiformes |
วงศ์: | Clupeidae |
วงศ์ย่อย: | Alosinae |
สกุล: | Hilsa Regan, 1917 |
สปีชีส์: | H. kelee |
ชื่อทวินาม | |
Hilsa kelee (Cuvier, 1829) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลามงโกรย หรือ ปลาลินโกรย หรือ ปลาขมงโกรย [2](อังกฤษ: Kelee shad, Fivespot herring, Razorbelly; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hilsa kelee) ปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hilsa[1]
เป็นปลาที่มีลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ในปากไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ 3–8 จุดเรียงกันเป็นแถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด [2]
มีขนาดยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยมีปริมาณที่ทำการประมงได้ถึง 221,899 ตัน ในปี ค.ศ. 2000 และ 35,483 ตัน ในปี ค.ศ. 2008 [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Hilsa kelee". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "มงโกรย". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.
- ↑ "Hilsa kelee". Fisheries Global Information System. Food and Agriculture Organization of the United Nations. สืบค้นเมื่อ 23 December 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hilsa kelee ที่วิกิสปีชีส์