ข้ามไปเนื้อหา

ปลากระสูบจุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากระสูบจุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Hampala
สปีชีส์: H.  dispar
ชื่อทวินาม
Hampala dispar
Smith, 1934

ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hampala dispar) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะที่ภาคอีสานของไทย ในต่างประเทศพบได้เฉพาะประเทศลาวและกัมพูชาเท่านั้น มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร[2]

ชื่อวิทยาศาสตร์ dispar เป็นภาษาละตินหมายถึง "ไม่เหมือน" หรือ "ซึ่งแตกต่างกัน" อันหมายถึงสัณฐานที่แตกต่างจากปลากระสูบขีด (H. macrolepidota) ซึ่งเป็นปลากระสูบอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นชนิดต้นแบบ อนุกรมวิธานโดย ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ สถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ แม่น้ำมูลในจังหวัดอุดรธานี[3]

เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า, ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Allen, D.J. Hampala dispar . In: IUCN 2014.3. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.3. <www.iucnredlist.org>.
  2. 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระัน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 84. ISBN 974-00-8701-9
  3. Smith, H. M., 1934 - Journal of the Siam Society, Natural History Supplement 9(3): 287-325 Contributions to the ichthyology of Siam. IX-XIX.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]