ปลากดขี้ลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากดขี้ลิง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Ariidae
สกุล: Hexanematichthys
สปีชีส์: H.  sagor
ชื่อทวินาม
Hexanematichthys sagor
(Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง[1]

[2] [3] [4]

  • Hexanematichthys sundaicus Bleeker, 1858
  • Bagrus javensis Valenciennes, 1840
  • Bagrus doroides Valenciennes, 1840
  • Bagrus sondaicus Valenciennes, 1840
  • Arius sagor (Hamilton, 1822)
  • Tachysurus sagor (Hamilton, 1822)
  • Pimelodus sagor Hamilton, 1822

ปลากดขี้ลิง (อังกฤษ: Sagor catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hexanematichthys sagor[5]) ปลากระดูกแข็งจำพวกปลาหนังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae)

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 17.7 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งและทะเลเปิดของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เมียนมาร์ และไทย โดยมีสถานที่ค้นพบครั้งแรกที่ปากอ่าวเบงกอล ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย

เป็นปลาที่สามารถนำมาปรับประทานได้โดยปรุงอาหารได้หลากหลายทั้งแกงส้ม, ทอด หรือปลาเค็ม มีราคาซื้อขายที่จังหวัดสงขลาสูงถึงกิโลกรัมละ 150–200 บาท ปัจจุบันมีการศึกษาการเพาะขยายพันธุ์โดยสถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ในบ่อปูนขนาด 30 ตัน เพื่อการอนุรักษ์มิให้สูญพันธุ์ [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bisby F.A., Roskov Y.R., Orrell T.M., Nicolson D., Paglinawan L.E., Bailly N., Kirk P.M., Bourgoin T., Baillargeon G., Ouvrard D. (red.) (2011). "Species 2000 & ITIS Catalogue of Life: 2011 Annual Checklist". Species 2000: Reading, UK. สืบค้นเมื่อ 24 september 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Ferraris, C.J. Jr. (2007) Checklist of catfishes, recent and fossil (Osteichthyes: Siluriformes), and catalogue of siluriform primary types., Zootaxa 1418:1-628.
  3. FishBase. Froese R. & Pauly D. (eds), 2011-06-14
  4. Talwar, P.K. and A.G. Jhingran (1991) Inland fishes of India and adjacent countries. Volume 2., A.A. Balkema, Rotterdam.
  5. "ปลา ที่พบในจังหวัดสงขลา". พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-08. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.
  6. เฉลิมพล แก้วหมุน. "การเลี้ยงปลากดขี้ลิงในบ่อซีเมนต์". nicaonline. สืบค้นเมื่อ August 7, 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]