ข้ามไปเนื้อหา

ปรากฏการณ์พอยน์ติง–รอเบิร์ตสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสีจากดาวฤกษ์ (S) การแผ่รังสีความร้อนของอนุภาค (a) กรณีที่สังเกตการณ์จากรอบอ้างอิงที่เคลื่อนไปกับอนุภาค (b) กรณีที่สังเกตการณ์จากกรอบนิ่งเทียบกับดาวฤกษ์

ปรากฏการณ์พอยน์ติง–รอเบิร์ตสัน (Poynting–Robertson effect) หมายถึงการสูญเสียโมเมนตัมเชิงมุมของฝุ่นคอสมิกที่โคจรรอบดาวฤกษ์เนื่องจากความดันรังสีจากดาวฤกษ์[1] ผลกระทบนี้มาจากแรงดันรังสีที่กระทำในทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของอนุภาคฝุ่น ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ จอห์น เฮนรี พอยน์ติง และ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน โฮเวิร์ด โรเบิร์ตสัน ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้

อนุภาคฝุ่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์ ซึ่งมีขนาดเล็กพอที่จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์พอยน์ติง–รอเบิร์ตสัน แต่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะถูกพัดพาออกไปโดยความดันรังสีของดาวฤกษ์ จะค่อย ๆ ถูกดูดเข้าหาดาวฤกษ์ไปเรื่อย ๆ ในระบบสุริยะ ปรากฏการณ์นี้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ไมโครเมตรถึง 1 มิลลิเมตร อนุภาคขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะชนกับวัตถุอีกชิ้นหนึ่งได้เร็วกว่าที่จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์พอยน์ติง–รอเบิร์ตสัน

พอยน์ติงได้อธิบายผลกระทบนี้ครั้งแรกในปี 1903 แต่คำอธิบายของเขาอิงตาม สมมติฐานอีเธอร์นำแสง หลังจากนั้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอีเธอร์จึงถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพในช่วงปี 1905-1915 ต่อมาในปี 1937 โรเบิร์ตสันได้อธิบายปรากฏการณ์นี้จากมุมมองของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "天文学辞典 » ポインティング-ロバートソン効果". 天文学辞典. 日本天文学会. สืบค้นเมื่อ 2019-11-23.
  2. Guess, A. W. (1962). "Poynting-Robertson effect for a spherical source of radiation". The Astrophysical Journal. 135: 855. Bibcode:1962ApJ...135..855G. doi:10.1086/147329. ISSN 0004-637X.