ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์เอชไอวี/เอดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายแบบให้สีเกินจริงจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเชื้อเอชไอวี-1 กำลังเจริญออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ที่เพาะไว้

เชื้อเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์นั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากไพรเมทที่ไม่ใช่มนุษย์ใน sub-Saharan Africa ต่อมาจึงถ่ายทอดมายังมนุษย์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือต้นศตวรรษที่ 20

มีเชื้อเอชไอวีสองชนิดที่ติดต่อมายังมนุษย์ คือเอชไอวี-1 และเอชไอวี-2 โดย เอชไอวี-1 นั้นเป็นอันตรายมากกว่า ติดต่อง่ายกว่า และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่บนโลกนี้[1] เชื้อเอชไอวี-1 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสที่พบในลิงชิมแปนซี และการศึกษาทาง molecular phylogenetics ก็บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี-1 ปรากฏขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1884-1924 ในแอฟริกาเขตเส้นศูนย์สูตร[2] เชื้อเอชไอวี-2 นั้นติดต่อกันได้ยากกว่าและส่วนใหญ่พบอยู่ในแอฟริกาตะวันตกร่วมกับเชื้อใกล้ชิดอื่นๆ ได้แก่ไวรัสที่พบใน Sooty Mangabey (Cercocebus atys) ซึ่งเป็นลิงโลกเก่าใน Guinea-Bissau, Gabon และ Cameroon

การระบาดจากสัตว์อื่นมายังมนุษย์

[แก้]

นักวิจัยเรื่องเอชไอวีส่วนใหญ่ยอมรับว่าเชื้อเอชไอวีวิวัฒนาการมาจากเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในลิงหรือเอสไอวี (Simian Immunodeficiency Virus - SIV) และเชื้อเอชไอวีแพร่มาจากไพรเมทที่ไม่ใช่มนุษย์ในอดีต (แบบโรครับจากสัตว์ - zoonosis) งานวิจัยในเรื่องนี้ทำโดยใช้ความรู้ทาง molecular phylogenetics เพื่อเปรียบเทียบลำดับจีโนมของไวรัสเพื่อหาความเกี่ยวข้องกัน

เชื้อเอชไอวี-1 แพร่จากชิมแปนซีมาสู่คน

[แก้]

ที่ไหน

[แก้]

เนื่องจากชนิดส่วนใหญ่ของเอชไอวี-1 นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสายพันธุ์เชื้อเอสไอวีที่ติดต่อในลิงชิมแปนซีสายพันธุ์ Pan troglodytes troglodytes (SIVcpz) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับ[3][4]ว่าเชื้อเอชไอวีมีขึ้นครั้งแรกในประชากรชิมแปนซีป่าใน West-Central Africa[5] จะเป็นในป่าฝนทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของแคเมอรูน (modern East Province) ใกล้แม่น้ำ Sanaga หรือตอนใต้ลงไปกว่านั้นใกล้ Kinshasa ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนั้นยังเป็นประเด็นสนทนาในแวดวงวิทยาศาสตร์อยู่[6][5][7]

เมื่อไร

[แก้]

จากการตรวจลำดับพันธุกรรมเชื้อเอชไอวี-1 ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ในตัวอย่างเชื้อร่วมกับการประมาณอัตราการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณพบว่าการติดเชื้อข้ามจากชิมแปนซีมาสู่มนุษย์เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยอาจเป็นช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1915-1941[8][9] งานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2008 ได้ทำการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมของไวรัสที่ได้จากชิ้นเนื้อปี ค.ศ. 1960 ที่เพิ่งได้รับการค้นพบเทียบกับลำดับสารพันธุกรรมที่ทราบอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เชื่อว่าน่าจะมีบรรพบุรุษของเชื้อร่วมกันช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1924[2][10]

ก่อนหน้านี้เคยเชื่อกันว่า genetic recombination จะ "กวน" (confound) การวิเคราะห์ทาง phylogenetic เช่นนี้อย่างมาก แต่งานวิจัยในช่วงหลังทำให้เชื่อว่า recombination เหล่านี้ไม่น่าจะทำให้เกิด systematic bias แม้จะเชื่อว่าทำให้เกิด variance มากขึ้นก็ตาม[2] ผลการวิจัยทาง phylogenetics สนับสนุนงานวิจัยในช่วงหลังที่เสนอว่าเชื้อเอชไอวีมีการกลายพันธุ์อย่าง "ค่อนข้างน่าเชื่อถือ" (fairly reliably).[2][11]

อย่างไร

[แก้]

ตามทฤษฎีว่าด้วยนักล่านั้น คำอธิบายที่เรียบง่ายและเป็นไปได้มากที่สุดของการแพร่ข้ามสายพันธุ์ของเชื้อ[3]คือไวรัสนี้แพร่จากชิมแปนซีมายังมนุษย์เมื่อนักล่าคนหนึ่งถูกกัดหรือมีแผลบาดขณะล่าหรือหั่นเนื้อลิง การที่ผู้ล่าต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งอื่นๆ ของลิงสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้[12] และจากการผสมพันธุ์กันระหว่างคนโรคจิตกับลิงในทวีปแอฟริกาก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อเช่นกัน

ประวัติของกรณีผู้ป่วยที่เป็นที่รู้จักและการแพร่ระบาด

[แก้]

1955-1957: นักพิมพ์ชาวอังกฤษ (กรณีผู้ป่วยที่อาจเสียชีวิตจากเอดส์)

[แก้]

1959: ชายชาวคองโก

[แก้]

1960: หญิงชาวคองโก

[แก้]

1969: Robert R.

[แก้]

ปี ค.ศ. 1969 ชายชาวแอฟริกัน-อเมริกัน อายุ 15 ปี ผู้เป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ในนาม Robert R. เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเมืองเซนต์หลุยส์จากโรคมะเร็งคาโปซีรุนแรง เมื่อครั้งโรคเอดส์ถูกสงสัยเป็นครั้งแรกๆ ในช่วงปี ค.ศ. 1984 และในปี ค.ศ. 1987 นักวิจัยที่ Tulane University School of Medicine ได้ยืนยันเรื่องนี้โดยตรวจพบเชื้อเอชไอวี-1 ในเลือดและเนื้อเยื่อที่เก็บไว้ของชายผู้นี้ แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยในตอนนั้นสงสัยผู้ป่วยจะประกอบอาชีพโสเภณี แม้ผู้ป่วยจะไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติเพศสัมพันธ์ไว้ก็ตาม[13][14][15][16][17]

1969: Arvid Noe

[แก้]

การแพร่ระบาดไปยังซีกโลกตะวันตก

[แก้]

ทฤษฎีผู้เดินทางมากับเที่ยวบินแคนาดา

[แก้]

สจ๊วตสายการบินแคนาดาชื่อ Gaëtan Dugas ได้รับการเรียกถึงในชื่อ "Patient 0" ("ผู้ป่วยหมายเลข 0") ในงานวิจัยเกี่ยวกับเอดส์ในยุคแรกๆ ของ Dr. William Darrow แห่ง Centers for Disease Control หลายคนเชื่อว่า Dugas เป็นผู้ที่นำเชื้อเอชไอวีมายังอเมริกาเหนือ ซึ่งไม่เป็นความจริงเนื่องจากเชื้อเอชไอวีได้แพร่ระบาดอยู่แล้วก่อนที่ Dugas จะทำอาชีพนี้เสียอีก ข่าวลือนี้อาจมีที่มาจากหนังสือ And the Band Played On ของ Randy Shilts ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2530 (รวมถึงภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือนี้ซึ่งกล่าวถึง Dugas ว่าเป็น Patient 0 ของโรคเอดส์) แต่ทั้งหนังสือและภาพยนตร์ก็ไม่ได้ระบุว่า Dugas เป็นคนแรกที่นำเชื้อเอชไอวีมาสู่อเมริกาเหนือ สาเหตุที่ Dugas ถูกเรียกว่าเป็น "Patient Zero" เนื่องจากมีคนจำนวนอย่างน้อย 40 คนจากที่ติดเชื้อเอชไอวี 248 คนในปี พ.ศ. 2526 ที่มีเพศสัมพันธ์กับ Dugas หรือคนที่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเขา

ข้อสรุปในปัจจุบันเชื่อว่าเชื้อเอชไอวีมาสู่อเมริกาเหนือกับผู้อพยพชาวเฮติที่ได้รับเชื้อนี้ขณะทำงานในคองโกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 หรือจากคนอื่นที่ทำงานที่นั่นในเวลานั้น[18]

1981-1982: จาก GRID จนถึง AIDS

[แก้]

การระบุเชื้อไวรัส

[แก้]

พฤษภาคม 1983: LAV

[แก้]

พฤษภาคม 1957: HTLV-III

[แก้]

มกราคม 1985: ทั้งสองคืออย่างเดียวกัน

[แก้]

พฤษภาคม 1986: HIV

[แก้]

การศึกษาทางพันธุศาสตร์

[แก้]

ทฤษฎีอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reeves JD; Doms RW (2002). "Human immunodeficiency virus type 2". The Journal of General Virology. 83 (Pt 6): 1253–65. doi:10.1099/0022-1317-83-6-1253. PMID 12029140.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Worobey M, Gemmel M, Teuwen DE, Haselkorn T, Kunstman K, Bunce M, Muyembe JJ, Kabongo JM, Kalengayi RM, Van Marck E, Gilbert MT, Wolinsky SM (2008). "Direct evidence of extensive diversity of HIV-1 in Kinshasa by 1960". Nature. 455 (7213): 661–64. Bibcode:2008Natur.455..661W. doi:10.1038/nature07390. PMC 3682493. PMID 18833279.
  3. 3.0 3.1 Sharp PM, Bailes E, Chaudhuri RR, Rodenburg CM, Santiago MO, Hahn BH (2001). "The origins of acquired immune deficiency syndrome viruses: where and when?" (PDF). Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci. 356 (1410): 867–76. doi:10.1098/rstb.2001.0863. PMID 11405934.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. Takebe Y, Uenishi R, Li X (2008). "Global molecular epidemiology of HIV: understanding the genesis of AIDS pandemic". Adv Pharmacol. 56: 1–25. doi:10.1016/S1054-3589(07)56001-1. PMID 18086407.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Keele, B. F., van Heuverswyn, F., Li, Y. Y., Bailes, E., Takehisa, J., Santiago, M. L., Bibollet-Ruche, F., Chen, Y., Wain, L. V., Liegois, F., Loul, S., Mpoudi Ngole, E., Bienvenue, Y., Delaporte, E., Brookfield, J. F. Y., Sharp, P. M., Shaw, G. M., Peeters, M., and Hahn, B. H. (2006). "Chimpanzee Reservoirs of Pandemic and Nonpandemic HIV-1". Science. Online 2006-05-25: 523. doi:10.1126/science.1126531. PMID 16728595.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Gao, F., Bailes, E., Robertson, D. L., Chen, Y., Rodenburg, C. M., Michael, S. F., Cummins, L. B., Arthur, L. O., Peeters, M., Shaw, G. M., Sharp, P. M., and Hahn, B. H. (1999). "Origin of HIV-1 in the Chimpanzee Pan troglodytes troglodytes". Nature. 397 (6718): 436–441. doi:10.1038/17130. PMID 9989410.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. USATODAY.com – HIV's ancestry traced to wild chimps in Cameroon
  8. Korber B, Muldoon M, Theiler J (2000). "Timing the Ancestor of the HIV-1 Pandemic Strains". Science. 288 (5472): 1789–96. Bibcode:2000Sci...288.1789K. doi:10.1126/science.288.5472.1789. PMID 10846155.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. "The Molecular Population Genetics of HIV-1 Group O" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  10. "AIDS virus leapt the species barrier early last century: study" เก็บถาวร 2008-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Breitbart, October 1, 2008. Accessed October 2, 2008.
  11. Colonial clue to the rise of HIV. BBC News. Retrieved 20-1-2009.
  12. Annabel Kanabus & Sarah Allen. Updated by Bonita de Boer (2007). "The Origins of HIV & the First Cases of AIDS". AVERT (an international HIV and AIDS charity based in the UK). สืบค้นเมื่อ 2007-02-28.
  13. Garry RF, Witte MH, Gottlieb AA, Elvin-Lewis M, Gottlieb MS, Witte CL, Alexander SS, Cole WR, Drake WL (October 1988). "Documentation of an AIDS virus infection in the United States in 1968". JAMA. 260 (14): 2085–87. doi:10.1001/jama.1988.03410140097031. PMID 3418874.
  14. Haislip AM, Witte MH, Sullivan KA, Wolfe M, Gottlieb AA, Gottlieb MS, Cole WR, Witte CL, Garry RF. "The Earliest Known AIDS Patient in the United States was Infected with an HIV-1 Strain Closely Related to IIIB/LAI". XIth International Congress of Virology, Sydney Convention Center, Australia, 9–13 August 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-03.
  15. "Epidemiology of HIV/AIDS in the United States". ucsf.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-26. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  16. "Case Shakes Theories of AIDS Origin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-15. สืบค้นเมื่อ 2005-12-27.
  17. Kolata, Gina (1987-10-28). "Boy's 1969 death suggests AIDS invaded U.S. Several times". The New York Times.
  18. BBC NEWS | Health | Key HIV strain 'came from Haiti'