ปฏิบัติการครอสโรดส์
ปฏิบัติการครอสโรดส์ | |
---|---|
เมฆรูปเห็ดและเสาน้ำที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นน้ำจากการระเบิดของ เบเกอร์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 1946 ภาพถ่ายจากหอสังเกตการณ์บนเกาะบิกีนีห่างออกไป 5.6 กิโลเมตร | |
ข้อมูลการทดลอง | |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
บริเวณทดสอบ | บิกีนีอะทอลล์ |
ช่วงเวลา | กรกฎาคม 1946 |
จำนวนครั้งที่ทดลอง | 2 |
รูปแบบ |
|
แรงระเบิดสูงสุด | 23 กิโลตันทีเอ็นที |
ชนิดระเบิด | ระเบิดนิวเคลียร์ฟิซชัน |
การทดลองอื่น | |
ก่อนหน้า | ทรินิตี |
ถัดไป | ปฏิบัติการแซนด์สโตน |
ปฏิบัติการครอสโรดส์ (อังกฤษ: Operation Crossroads) เป็นชุดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์โดยสหรัฐอเมริกา การทดลองทุกครั้งในชุดการทดลองนี้จัด ณ บิกีนีอะทอลล์ ในช่วงกลางปี 1956 ครอสโรดส์ เป็นการทดลองหลังจาก ทรินิตี ซึ่งทดลองช่วงเดือนกรกฎาคม 1945 และเป็นการระเบิดครั้งแรกตั้งแต่การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะนะงะซะกิ โดยมีจุดมุ่งหมายการทดลองเพื่อทดสอบความเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์ที่มีผลต่อเรือรบ
ชุดการทดลอง ครอสโรดส์ ประกอบไปด้วยระเบิดสองลูก โดยทั้งคู่มีแรงระเบิด 23 กิโลตันทีเอ็นทีเท่ากัน[1] ลูกแรกทดลองวันที่ 1 กรกฎาคม 1946 สมญานามว่า เอเบิล ซึ่งจุดระเบิดเหนือพื้นดิน 160 เมตร อีกลูกหนึ่งทดลองวันที่ 25 กรกฎาคม 1946 มีสมญานามว่า เบเกอร์ ซึ่งจุดระเบิดใต้ผิวน้ำลงไป 27 เมตร[1] แต่ยังมีระเบิดอีกลูกสมญานามว่า ชาร์ลี ที่วางแผนระเบิดในปี 1947 แต่ถูกยกเลิกเสียก่อน[2] จึงเลื่อนการทดลอง ชาร์ลี ไปทดลองในปฏิบัติการวิกแวมซึ่งเป็นการระเบิดใต้ท้องทะเลลึกบริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย การระเบิดของ เอเบิล และ เบเกอร์ เป็นการระเบิดครั้งที่สี่และครั้งที่ห้าในประวัติศาสตร์การระเบิดของสหรัฐอเมริกา (หลังจาก ทรินิตี และ ระเบิดที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิ) และเป็นการทดลองครั้งแรกที่จัดขึ้นบริเวณเหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งการทดลองอีกหลาย ๆ ครั้งต่อมาก็จัดที่บริเวณนี้
ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะบิกีนีแต่เดิมยินยอมที่จะย้ายออกจากเกาะ โดยคนส่วนมากย้ายไปอยู่ที่รองเกริคอะทอลล์ (Rongerik Atoll) และต่อมาในทศวรรษ 1950 มีการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์อีกหลายครั้งที่จัดขึ้นบริเวณเกาะบิกีนี ทำให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำทะเลและในอากาศอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวเกาะ เช่นการทำฟาร์ม และการหาปลา แม้ในปัจจุบันเกาะบิกีนีก็ยังใช้ในการอยู่อาศัยไม่ได้ แม้จะมีการยืนยันว่าผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการครอสโรดส์จะได้รับการป้องกันจากรังสีเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีการศึกษาที่ว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมปฏิบัติการลดลงสามเดือนจากคนทั่วไป ผลจากการระเบิดของ เบเกอร์ ทำให้เรือเป้าทุกลำปนเปื้อนสารกำมันตรังสี และทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารกำมันตรังสีเป็นวงกว้าง จนทำให้นักเคมีนามว่าเกลนน์ ซีบอร์ก ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการพลังงานนิวเคลียร์ได้กล่าวถึง เบเกอร์ ว่าเป็น "จุดเริ่มต้นของภัยพิบัตินิวเคลียร์ของโลก"[3]
ทดสอบเอเบิล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เป้าโดยรวมของเอเบิล
[แก้]# | ชื่อ | ประเภท | ตำแหน่งที่จม |
---|---|---|---|
5 | กิลเลียม | เรือขนส่ง | 50 yd (46 m) |
9 | ซากาวะ | เรือลาดตระเวน | 420 yd (380 m) |
4 | คาร์ไลล์ | เรือขนส่ง | 430 yd (390 m) |
1 | แอนเดอร์สัน | เรือพิฆาต | 600 yd (550 m) |
6 | แลมสัน | เรือพิฆาต | 760 yd (690 m) |
# | ชื่อ | ประเภท | ตำแหน่งที่จม |
---|---|---|---|
40 | สเก็ต | เรือดำน้ำ | 400 yd (370 m) |
12 | YO-160 | เรือน้ำมัน | 520 yd (480 m) |
28 | อินดีเพนเดนซ์ | เรือบรรทุกเครื่องบิน | 560 yd (510 m) |
22 | คริตเตนเดน | เรือขนส่ง | 595 yd (544 m) |
32 | เนวาดา | เรือประจัญบาน | 615 yd (562 m) |
3 | อาร์คันซอ | เรือประจัญบาน | 620 yd (570 m) |
35 | เพนซาโคลา | เรือลาดตระเวน | 710 yd (650 m) |
11 | ARDC-13 | Drydock | 825 yd (754 m) |
23 | ดาวน์สัน | เรือขนส่ง | 855 yd (782 m) |
38 | ซอลต์เลกซิตี | เรือลาดตระเวน | 895 yd (818 m) |
27 | ฮิวส์ | เรือพิฆาต | 920 yd (840 m) |
37 | ไรนด์ | เรือพิฆาต | 1,012 yd (925 m) |
49 | LST-52 | LST | 1,530 yd (1,400 m) |
10 | ซาราโตกา | เรือบรรทุกเครื่องบิน | 2,265 yd (2,071 m) |
ทดสอบเบเกอร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เป้าโดยรวมของเบเกอร์
[แก้]# | ชื่อ | ประเภท | ตำแหน่งที่จม |
---|---|---|---|
50 | LSM-60 | เรือยกพลขึ้นบก | 0 yd (0 m) |
3 | อาร์คันซอ | เรือประจัญบาน | 170 yd (160 m) |
8 | ไพลอตฟิช | เรือดำน้ำ | 363 yd (332 m) |
10 | ซาราโตกา | เรือบรรทุกเครื่องบิน | 450 yd (410 m) |
12 | YO-160 | เรือน้ำมัน | 520 yd (480 m) |
7 | นางาโตะ | เรือประจัญบาน | 770 yd (700 m) |
41 | สคิปแจ็ค | เรือดำน้ำ | 800 yd (730 m) |
2 | อาโปกอน | เรือดำน้ำ | 850 yd (780 m) |
11 | ARDC-13 | Drydock | 1,150 yd (1,050 m) |
รูปภาพ
[แก้]-
ภาพร่างของยูเอสเอส ซาราโตกา (CV-3) ใต้ทะเล
-
ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์ (CVL-22) แสดงความเสียหายจากระเบิด
-
เรือเบื้องหน้า (ซ้าย) คือเรือประจัญบานญี่ปุ่น นางาโตะ
-
ด้วยความพยายามที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการชะล้างการปนเปื้อน เรือดับเพลิงของกองทัพเรือจึงแล่นไปตามเรือประจัญบานยูเอสเอส นิวยอร์ก (BB-34)
-
กะลาสีเรือกำลังขัดถูพื้นเรือลาดตระเวนเยอรมัน พรินทซ์ออยเกิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Operation Crossroads - NuclearWeaponArchive". สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
- ↑ "Operation Crossroads: Meeting the Bomb at Close Quarters". สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
- ↑ Weisgall 1994, p. ix.
- ↑ Data in the table and the map come from Delgado 1991 . The Able map is on p. 16, the Baker map on p. 17, and ship damage and distances on pp. 86–87. The full text of this reference is posted on the Internet (see link in Sources, below).
บรรณานุกรม
[แก้]- Weisgall, Jonathan (1994), Operation Crossroads: The Atomic Tests at Bikini Atoll, Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, ISBN 978-1-55750-919-2