ข้ามไปเนื้อหา

บริเวณความกดอากาศต่ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การหมุนทวนเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกเหนือ บริเวณเหนือประเทศไอซ์แลนด์
การหมุนตามเข็มนาฬิกาของบริเวณความกดอากาศต่ำในซีกโลกใต้(ในภาพเป็นบริเวณทางใต้ของประเทศออสเตรเลีย) บริเวณจุดศูนย์กลางมักจะเป็นบริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำสุด

บริเวณความกดอากาศต่ำ หรือ หย่อมความกดอากาศต่ำ (อังกฤษ: Low-pressure area) คือ บริเวณที่มีค่าความกดอากาศต่ำจากการเปรียบเทียบกับบริเวณรอบโดยรอบ การเกิดความกดอากาศต่ำ เกิดจากการที่มวลของอากาศได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ มวลอากาศจะยกตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศบริเวณนั้นมีค่าลดลง

เมื่อมวลอากาศที่ลอยตัวขึ้นเนี่องจากความร้อนเย็นตัวลงด้านบนทำให้เกิดเป็นเมฆขึ้น โดยทั่วไปท้องฟ้าบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำจะมีเมฆปกคลุม ผลคือทำให้อุณหภูมิของพื้นที่นั้นลดลงจากการสะท้อนแสงและคลื่นที่มาจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ในยุโรปการเรียกชื่อบริเวณความกดอากาศต่ำจะใช้ชื่อเรียกว่า "ดีเปรสชัน" (อังกฤษ: depression)

สภาพอากาศที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ลมที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ เคลื่อนที่จากบริเวณความกดอากาศสูงไปยังบริเวณความกดอากาศต่ำ[1] ปรากฏการ์ณนี้เกิดมาจากความแตกต่างของความหนาแน่น อุณหภูมิ หรือความชื้น บริเวณความกดอากาศสูงมวลอากาศจะมีความเย็นและแห้งซึ่งมวลอากาศที่มีความหนาแน่นนี้จะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือมีความชื้น ยิ่งมีความแตกต่างมากเท่าใด ความแรงของลมก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเท่านั้น[2]

เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก การเคลื่อนที่ของลมที่เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศในซีกโลกเหนือจะเป็นการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และ หมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้

บริเวณความกดอากาศต่ำมักจะเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีเมฆมาก หรือ อาจมีฝนตก ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างสงบ และท้องฟ้าปลอดโปร่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. BWEA (2007). Education and Careers: What is wind? British Wind Energy Association. Retrieved on 2009-02-16.
  2. JetStream (2008). Origin of Wind. เก็บถาวร 2009-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Weather Service Southern Region Headquarters. Retrieved on 2009-02-16.