นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน (อังกฤษ: monetary policy) เป็นนโยบายที่องค์การเงินตรา (monetary authority) ใช้เพื่อควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เงินสำหรับการกู้ยืมระยะสั้นมาก หรือปริมาณเงิน ซึ่งมักเป็นความพยายามเพื่อลดเงินเฟ้อหรืออัตราดอกเบี้ย เพื่อประกันเสถียรภาพราคาและความเชื่อมั่นทั่วไปในคุณค่าและเสถียรภาพของเงินตราของประเทศ[1][2][3]
นโยบายการเงินเป็นการดัดแปลงปริมาณเงิน คือ "การพิมพ์" เงินเพิ่ม หรือลดปริมาณเงินโดยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือถอนเงินสำรองส่วนเกิน ทั้งนี้ ต่างจากนโยบายการคลัง ซึ่งอาศัยการเก็บภาษีอากร การใช้จ่ายภาครัฐและการกู้ยืมภาครัฐ[4] เพื่อจัดการปรากฏการณ์วัฏจักรธุรกิจ เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนี้นโยบายการเงินปกติยังมีส่วนต่อเสถียรภาพของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การลดและคงการว่างงานให้ต่ำ และเพื่อคงอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินตราสกุลอื่นที่ทำนายได้
ขยายตัวหรือหดตัว
[แก้]นโยบายการเงินแบ่งได้เป็นนโยบายแบบขยายตัวหรือหดตัว
นโยบายขยายตัวเกิดขึ้นเมื่อองค์การเงินตราใช้วิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจ รักษาอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้ต่ำกว่าอัตราปกติ หรือเพิ่มปริมาณเงินรวมในเศรษฐกิจเร็วกว่าปกติ แต่เดิมใช้เพื่อพยายามลดการว่างงานระหว่างภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยการลดอัตราดอกเบี้ยด้วยหวังว่าเครดิตที่ถูกลงจะจูงใจให้ธุรกิจกู้ยืมเงินมากขึ้นและขยายกิจการ นโยบายนี้จะเพิ่มอุปสงค์มวลรวม ซึ่งจะเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะสั้นที่วัดได้จาก GDP ที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มเงินตราในการหมุนเวียน ปกติจะลดค่าของเงินตราเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่น ซึ่งผู้ซือต่างประเทศจะสามารถซื้อสินค้าและบริการด้วยเงินตราของตนได้มากขึ้นในประเทศที่มีค่าเงินอ่อนตัวลง[5]
นโยบายหดตัวเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้ต่ำกว่าปกติ ชะลอการเติบโตของปริมาณเงิน หรือลดปริมาณเงินในระบบเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะสั้นและลดเงินเฟ้อ นโยบายแบบหดตัวอาจทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นและลดการกู้ยืมและใช้จ่ายของผู้บริโภคและธุรกิจ ซึ่งอาจทำใหเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หากใช้เข้มงวดเกินไป[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jahan, Sarwat. "Inflation Targeting: Holding the Line". International Monetary Funds, Finance & Development. สืบค้นเมื่อ 28 December 2014.
- ↑ "Monetary Policy". Federal Reserve Board. January 3, 2006.
- ↑ Levy Yeyati, Eduardo; Sturzenegger, Federico (2010). "Monetary and Exchange Rate Policies". Handbooks in Economics. Handbook of Development Economics. Vol. 5. pp. 4215–4281. doi:10.1016/B978-0-444-52944-2.00002-1. ISBN 9780444529442.
- ↑ Friedman, B.M. (2001). "Monetary Policy". International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. pp. 9976–9984. doi:10.1016/B0-08-043076-7/02257-9. ISBN 9780080430768.
- ↑ Expansionary Monetary Policy: Definition, Purpose, Tools. The Balance.
- ↑ Contractionary Monetary Policy: Definition, Examples. The Balance.