ข้ามไปเนื้อหา

นิวต์ผิวขรุขระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิวต์ผิวขรุขระ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Caudata
วงศ์: Salamandridae
สกุล: Taricha
สปีชีส์: T.  granulosa
ชื่อทวินาม
Taricha granulosa
(Skilton, 1849)
ชื่อพ้อง[1]
  • Salamandra granulosa Skilton, 1849
  • Taricha granulosa granulosa (Skilton, 1849)
  • Taricha granulosa mazamae (Myers, 1942)
  • Taricha granulosa similans (Twitty, 1935)
  • Taricha torosa granulosa (Skilton, 1849)
  • Taricha torosa mazamae (Myers, 1942)
  • Taricha torosa simulans (Twitty, 1935)
  • Taricha torosa twittyi (Myers, 1942)
  • Triturus granulosus (Skilton, 1849)
  • Triturus granulosus mazamae Myers, 1942
  • Triturus granulosus similans Twitty, 1935
  • Triturus similans Twitty, 1935

นิวต์ผิวขรุขระ (อังกฤษ: Rough-skinned newt; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taricha granulosa) เป็นนิวต์อเมริกาเหนือที่รู้จักกันดีว่ามีพิษร้ายแรง

ขณะยังไม่โตเต็มวัย จะอาศัยอยู่บนพื้นดินเป็นเวลา 4 หรือ 5 ปีหลังจากเมตามอร์โฟซิส แต่ตัวเต็มวัยสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ วางไข่ในน้ำ สัตว์ประเภทนี้ถูกพบมากเป็นพิเศษหลังจากเกิดฝนตกหนัก[2]

ความเป็นพิษ

[แก้]

นิวต์จำนวนมากผลิตพิษขึ้นในผิวหนังเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่า แต่นิวต์ผิวขรุขระจะผลิตพิษขึ้นมามากเป็นพิเศษ แต่นิวต์จะปล่อยพิษออกมาเฉพาะเมื่อมันรู้สึกว่าถูกคุกคามเท่านั้น ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้เมื่อสัมผัสผิวของมัน

พิษของนิวต์ผิวขรุขระสามารถทำให้มนุษย์เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชายวัย 29 ปีที่กำลังเมา ในคูสเบย์ รัฐออริกอน เสียชีวิตหลังจากกลืนนิวต์ผิวขรุขระเข้าไปเพื่อเป็นการท้าทาย[2]

การใช้สีเตือน

[แก้]

สัตว์ที่มีพิษมักจะเตือนสัตว์นักล่าว่าพวกมันไม่ใช่อาหารที่ดี ไม่มีประโยชน์ที่สัตว์นั้นจะผลิตพิษออกมานอกจากว่าจะช่วยในการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ ใต้ตัวของนิวต์เหล่านี้มีสีเหลืองส้มอย่างชัดเจน เมื่อนิวต์ถูกคุกคาม มันจะม้วนหางขึ้นและยกหัวเพื่อแสดงสีเตือน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในภาพถ่ายหลายภาพ[2]

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

ที่อยู่อาศัยของนิวต์ผิวขรุขระถูกพบตลอดชายฝั่งด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและบริติชโคลัมเบีย ทางใต้สุดนั้นไปไกลถึงรัฐแคลิฟอร์เนีย และทางเหนือสุดไปจนถึงรัฐอะแลสกา[3]

ปรสิต

[แก้]

Helipegus occidualis เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ในหลอดอาหารของนิวต์ ก่อนหน้ากระเพาะอาหาร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 2.2 Photos of newts "Taricha granulosa granulosa – Rough-Skinned Newt". California Herps. สืบค้นเมื่อ 2006-12-10.
  3. "Rough-skinned Newt". mbgnet.net. สืบค้นเมื่อ 7 April 2011.
  4. Marvin Clinton Meyer, Oliver Wilford Olsen (1975). Essentials of parasitology (2, illustrated ed.). W. C. Brown Co. p. 79. ISBN 0697046826, 9780697046826. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Taricha granulosa ที่วิกิสปีชีส์