นิมอซินี
นิมอซินี Μνημοσύνη | |
---|---|
เทพไททันหญิงแห่งความจำและความทรงจำ | |
ส่วนหนึ่งของ ไททัน | |
นิมอซินี (หรือ โคมแห่งความจำ หรือ ริกอร์ดานซา) โดย ดานเต กาเบรียล โรสเซตตี (ราว ค.ศ. 1876-1881) | |
ที่ประทับ | ยอดเขาโอลิมปัส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ซูส |
บุตร - ธิดา | |
บิดา-มารดา | ยูเรนัสกับไกอา |
พี่น้อง |
|
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | โมเนตา |
นิมอซินี (อังกฤษ: Mnemosyne, /nəˈmɒsəni/) หรือ มเนโมซิเน (กรีก: Μνημοσύνη, /mnɛːmosýːnɛː/, มฺแนโมซฺวีแน) เป็นเทพกัญญาแห่งความจำในประมวลเรื่องปรัมปรากรีก เป็นมารดาของบรรดามิวส์ทั้งเก้า
ในภาษาอังกฤษ คำว่า "Mnemosyne" มีแม่คำจากภาษากรีกเดียวกับคำว่า "mnemonic" (ช่วยจำ) คือ "mnēmē" อ่านว่า มฺแนแม แปลว่า "ความทรงจำ, ความจำ"[1]
เทพวงศ์
[แก้]นิมอซินีเป็นเทพไททัน เป็นธิดาของไททันยูเรนัสกับไททันไกอา[2][3][4] เป็นมารดาของมิวส์ทั้งเก้า ซึ่งเป็นธิดาของนางกับซูส ผู้เป็นทั้งภาติยะและภาคิไนยของนางเอง มิวส์ทั้งเก้าคือ
- คาไลโอพี (กวีนิพนธ์มหากาพย์)
- ไคลโอ (ประวัติศาสตร์)
- ยูเทอร์พี (ดนตรี)
- เอราโท (กวีนิพนธ์คีตกานท์)
- เมลพอเมนี (โศกนาฏกรรม)
- พอลีฮิมเนีย (เพลงสวดสรรเสริญ)
- เทิร์ปสิโครี (นาฏกรรม)
- เธเลีย (สุขนาฏกรรม)
- ยูเรเนีย (ดาราศาสตร์)
ปรัมปราวิทยา
[แก้]นิมอซินีกับซูส ในร่างคนเลี้ยงแกะ ได้มีเพศสัมพันธ์กันเป็นเวลาเก้าคืนติดกัน ทำให้มีธิดาเป็นมิวส์เก้าองค์
นิมอซินีเป็นผู้ดูแลสระน้ำในยมโลก[5] ตามรอยจารึกงานศพต่าง ๆ ของชาวกรีกในศวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งจารึกตามมาตราหกคณะแด็กทิล สระน้ำแห่งนี้เป็นสระน้ำคู่เคียงกับแม่น้ำลีธี ซึ่งเป็นที่ที่วิญญาณของคนตายมาเอาน้ำไปดื่ม เพื่อไม่ให้มีความทรงจำเกี่ยวกับตนเองเมื่อยังไม่ตายก่อนที่จะไปเกิดใหม่ แต่ในศาสนาออร์เฟียส เมื่อศาสนิกชนรับเข้าศาสนา เชื่อว่าต้องดื่มน้ำจากแม่น้ำนิมอซินี คือแม่น้ำแห่งความจำ เพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิด[6]
ใน ธีออโกนี (Theogony) ของเฮเซียด กษัตริย์และกวีต่าง ๆ ได้รับพลังในการพูดแบบมีอำนาจจากการครองนิมอซินีและการมีความสัมพันธ์พิเศษกับพวกมิวส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Liddell, Henry George; Scott, Robert (1940). Jones, Sir Henry Stuart; McKenzie, Roderick (บ.ก.). "μνήμη". A Greek-English Lexicon. Oxford: Clarendon Press. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ Hesiod. Theogony, 135
- ↑ Clement of Alexandria. Recognitions, 31
- ↑ Diodorus Siculus. Bibliotheca historica, 5.66.3
- ↑ Richard Janko, "Forgetfulness in the Golden Tablets of Memory", Classical Quarterly 34 (1984) 89–100
- ↑ "Lethe | Greek mythology". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-03-30.