จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิชซินโดรม (ญี่ปุ่น: ニッチシンドローム; โรมาจิ: Nitchi Shindorōmu; อังกฤษ: Niche Syndrome) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของวงดนตรีร็อกชาวญี่ปุ่น วันโอเคร็อก ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2010[2] โดยจำหน่ายเป็นซีดีธรรมดาเท่านั้น[3] และซีดีพร้อมดีวีดีฉบับลิมิตเตดอิดิตชัน[4] อัลบั้มนี้ประกอบด้วยซิงเกิล "คันเซ็งคังกะกุดรีมเมอร์" ซึ่งออกจำหน่ายก่อนแล้วในปี ค.ศ. 2010[5][6] นิชซินโดรมเป็นอัลบั้มแรกที่ไม่มีอเล็กซ์ โอะนิซะวะ อดีตมือกีตาร์ของวง
เพลงหนึ่งจากอัลบั้มนี้ที่มีชื่อเพลงว่า "แวร์เอเวอร์ยูอาร์" ได้ติดชาร์ตสูงสุดอันดับที่ 4 ในบิลบอร์ดเจแปนฮอต 100 และคงอยู่ในชาร์ตนานถึง 89 สัปดาห์[7] และเพลงนี้ก็ได้นำไปใช้ในชุดโฆษณาโทรศัพท์ของเอ็นทีที โดโคโม[8] สำหรับซิงเกิล "คันเซ็งคังกะกุดรีมเมอร์" ติดชาร์ตสูงสุดอันดับที่ 40 ในบิลบอร์ดเจแปนฮอต 100 และคงอยู่ในชาร์ตนานถึง 18 สัปดาห์[9]
หลังจากการปล่อยอัลบั้มนิชซินโดรมแล้ว ก็ตามด้วยทัวร์ที่มีชื่อว่า วันโอเคร็อก "ดิสอิสมายโอนจัดจ์เมนต์" ทัวร์ ซึ่งจัดในช่วงวันที่ 27 มิถุนายน ไปจนถึง 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[6]
|
1. | "อินโทรดักชัน" | | | 1:00 |
---|
2. | "เนเวอร์เลตดิสโก" | Taka | Taka | 4:17 |
---|
3. | "คันเซ็งคังกะกุดรีมเมอร์" (完全感覚Dreamer) | Taka | Taka | 4:12 |
---|
4. | "คนซะสึคอมมิวนิเคชัน" (混雑コミュニケーション) | Taka | Taka | 3:19 |
---|
5. | "เยสไอแอม" | | | 3:36 |
---|
6. | "เชกอิตดาวน์" | Taka | | 3:13 |
---|
7. | "จิบุงร็อก" (じぶんROCK) | Taka | Taka | 3:47 |
---|
8. | "ไลอาร์" | Taka | | 3:37 |
---|
9. | "แวร์เอเวอร์ยูอาร์[A]" | Taka | Taka | 4:55 |
---|
10. | "ไรออต!!!" | Taka | Taka | 4:16 |
---|
11. | "อะเดาต์สูท" (アダルトスーツ) | Taka | | 4:11 |
---|
12. | "มิคันเซโคเกียวเกียวกุ" (未完成交響曲) | Taka | | 3:28 |
---|
13. | "โนบอดีส์โฮม[B]" (มีแทร็กที่ซ่อนไว้ชื่อเพลง "แอตเทนแดนซ์") | Taka | Taka | 9:14 |
---|
ความยาวทั้งหมด: | 53:10 |
---|
|
1. | "คันเซ็งคังกะกุดรีมเมอร์" (มิวสิกวิดีโอ) | 4:20 |
---|
2. | "จิบุงร็อก" (มิวสิกวิดีโอ) | 3:54 |
---|
3. | "ไลอาร์" (มิวสิกวิดีโอ) | 3:49 |
---|
4. | "จิบุงร็อก" (Ver.2: MV Shooting Off Shot) | ~3:52 |
---|
5. | "คันเซ็งคังกะกุดรีมเมอร์" (แสดงสดที่โตเกียววันที่ 26 พ.ย. 2009) | ~4:40 |
---|
- หมายเหตุ
- A เพลง "แวร์เอเวอร์ยูอาร์" ประพันธ์โดยทากะเนื่องในงานแต่งของเพื่อน[12]
- B เพลง "โนบอดีส์โฮม" ประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดงคำขอโทษและขอบคุณอย่างซื่อตรงแด่พ่อแม่ของเขา ชินนิชิ โมะริ และมะซะโกะ โมะริ[13][14]
- ↑ "ONE OK ROCK、発売前の曲がTSUTAYA限定先行レンタル". Barks (ภาษาญี่ปุ่น). April 28, 2010. สืบค้นเมื่อ May 31, 2010.
- ↑ "DISCOGRAPHY | ONE OK ROCK official website" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ "Nicheシンドローム ONE OK ROCKのプロフィールならオリコン芸能人事典-ORICON STYLE" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ "Nicheシンドローム(初回限定盤) ONE OK ROCKのプロフィールならオリコン芸能人事典-ORICON STYLE". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ "NEWS | ONE OK ROCK official website" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ 6.0 6.1 "ナタリー - ONE OK ROCK、ロックの日に新作「Nicheシンドローム」". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.
- ↑ "Japan Hot 100". Billboard. 2016-01-30. สืบค้นเมื่อ 2017-03-02.
- ↑ "「BOYMEN NINJA」セールスで大差を守り、初登場で総合首位獲得". Billboard Japan.
- ↑ "Japan Hot 100". Billboard. 2016-04-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-02.
- ↑ MusicBrainz. 'Niche Syndrome' by ONE OK ROCK
- ↑ Discogs. ONE OK ROCK - 'Niche Syndrome'
- ↑ Ong, Deborah (November 27, 2013). "The Best of J-Rock with One Ok Rock: Live In Singapore". Bandwagon Asia. สืบค้นเมื่อ December 3, 2017.
- ↑ Arakin, Ryōsuke (August 9, 2012). "ONE OK ROCK Interview". Gekirock.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ September 8, 2017.
- ↑ "ONE OK ROCK @ 日本武道館". Rockin'On Japan (ภาษาญี่ปุ่น). November 28, 2010. สืบค้นเมื่อ September 8, 2017.
|
---|
- ยู โคยานางิ
- อเล็กซานเดอร์ โอนิซาวะ
|
สตูดิโออัลบั้ม | |
---|
ซิงเกิล | |
---|