นากาย-น้ำเทิน
เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาตินากาย-น้ำเทิน (อังกฤษ: Nakai–Nam Theun National Biodiversity Conservation Area) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า นากาย-น้ำเทิน เป็นเขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (ตัวย่อ: NBCA) แห่งหนึ่งในประเทศลาว
มีพื้นที่ประมาณ 3,445 ตารางกิโลเมตร บริเวณเทือกเขาอันนัมและที่ราบสูงนากาย ในแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองนากาย
นากาย-น้ำเทินอยู่ทางตะวันออกของบริเวณเขื่อนน้ำเทิน 2 มีสภาพเป็นลาดเขาที่ค่อยสูงขึ้นไปไปจนถึงสันเขาที่เป็นชายแดนติดต่อกับเวียดนาม เป็นป่ารับน้ำที่ป้อนน้ำเข้าสู่เขื่อนน้ำเทิน 2 และเป็นเขตป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ปกปักรักษาให้คงสภาพป่าที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยไม่ถูกรบกวน
มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลมารวมกันเรียกว่า "น้ำเทิน" ได้แก่
- น้ำคาตา
- น้ำโซค
- น้ำมอน
- น้ำเทิน
- น้ำน้อย
- น้ำเปย
- น้ำวัน
นากาย-น้ำเทิน เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรรณพืชและพันธุ์สัตว์หลายชนิดที่หายาก และยังมิได้รับการศึกษาทางวิชาการเพียงพอ เช่น พญามะขามป้อม (Cephalotaxus mannii) ซึ่งเป็นพืชหายากมากในประเทศไทย[1], สนขาวเวียดนาม (Pinus dalatensis)[2] ในส่วนของสัตว์ป่า ได้แก่ สาวหล่า (Pseudoryx nghetinhensis), เก้งยักษ์ (Muntiacus vuquangensis), เก้งอินโดจีน (M. rooseveltorum), เก้งตรองซอน (M. truongsonensis), หมูป่าอินโดจีน (Sus bucculentus), กระต่ายป่าลายเสืออันนัม (Nesolagus timminsi), แรดชวาชนิดย่อย "อันนัม" (Rhinoceros sondaicus annamiticus), เสือโคร่งอินโดจีน (Panthera tigris corbetti), ช้างเอเชีย (Elephas maximus) และนกอีกกว่า 400 ชนิด[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พญามะขามป้อมดง
- ↑ doi:10.1017/S0960428606000734
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ Lao National Tourism Association. "Khammouane Overview". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-12. สืบค้นเมื่อ 22 December 2011.
- Robichaud, William G. 2005. Testing assumptions: the recent history of forest cover in Nakai-Nam Theun National Protected Area, Laos. Masters dissertation. University of British Columbia.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ นากาย-น้ำเทิน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์