นอร์มัน ร็อกเวลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นอร์มัน ร็อกเวลล์

นอร์มัน ร็อกเวลล์ (อังกฤษ: Norman Percevel Rockwell) (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 18948 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978) เป็นจิตรกรและจิตรกรภาพประกอบชาวอเมริกันของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนภาพหน้าปกนิตยสารที่เป็นภาพชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของชาวอเมริกันในนิตยสาร “The Saturday Evening Post” เป็นเวลากว่าสี่สิบปี ภาพที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ภาพชุดวิลลีส์ กิลลิส (Willie Gillis),ภาพชุดโรซีคนตอกหมุด (Rosie the Riveter) และภาพชุด เสรีภาพสี่อย่าง

เบื้องต้น[แก้]

นอร์มัน ร็อกเวลล์เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จากจาร์วิส แวริงและ แอนน์ แมรี ร็อกเวลล์ นอร์มันมีพี่ชายคนหนึ่งชื่อจาร์วี เมื่ออายุ 14 ปีนอร์มันก็ย้ายไปเรียนศิลปะที่สถาบันแห่งการออกแบบแห่งชาติ (National Academy of Design) และต่อมาที่ Art Students League of New York ที่นอร์มันได้เข้าศึกษากับทอมัส โฟการ์ที, จอร์จ บริดจ์แมน (George Bridgman) และแฟรงค์ วินเซนต์ ดูมอนด์ (Frank Vincent Dumond) ; งานสมัยแรกเขียนให้ “St. Nicholas Magazine”, สิ่งพิมพ์ “ชีวิตเด็กผู้ชาย” ขององค์การลูกเสือแห่งอเมริกา และหนังสือสำหรับเด็กอื่นๆ ที่โจเซฟ ซาตาริ (Joseph Csatari) เป็นผู้เขียนต่อมา

เมื่อเป็นนักเรียนร็อกเวลล์ก็ได้แต่งานเล็กๆ และไม่สำคัญ งานแรกที่สำคัญที่ได้รับได้ในปี ค.ศ. 1912 เมื่ออายุได้สิบแปดปีโดยเป็นผู้เขียนภาพประกอบในหนังสือ “บอกซิว่าทำไม: เรื่องของธรรมชาติ” (Tell Me Why: Stories about Mother Nature) โดยคาร์ล เอช. คลอดี (Carl H. Claudy)

ในปี ค.ศ. 1913 เมื่ออายุได้สิบเก้าปีร็อกเวลล์ก็ได้เป็นบรรณาธิการศิลปะของ “ชีวิตเด็กผู้ชาย” ที่อยู่ในตำแหน่งเป็นเวลาสามปี จนถึงปี ค.ศ. 1916[1] ในฐานะบรรณาธิการร็อกเวลล์วาดภาพหน้าปกหลายฉบับเริ่มด้วย “Scout at Ship's Wheel” ที่ปรากฏในฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 1913

“Scout at Ship's Wheel” ค.ศ. 1913

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rockwell and Csatari: A tour de force". Scouting (magazine): 6. March–April 2008.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นอร์มัน ร็อกเวลล์