ธรรมนูญสภายุโรป
ประเภท | สนธิสัญญาพหุภาคี |
---|---|
วันลงนาม | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 |
ที่ลงนาม | ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร |
ผู้ลงนามแรกเริ่ม | เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร |
ผู้ให้สัตยาบัน | 46 รัฐ |
ธรรมนูญสภายุโรป (อังกฤษ: Statute of the Council of Europe; หรือที่รู้จักกันในชื่อ สนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1949)) เป็นสนธิสัญญาพหุภาคีที่ลงนามเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสภายุโรป ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศสำหรับทุกรัฐในทวีปยุโรปที่ได้อุทิศให้กับ "การแสวงหาสันติภาพบนพื้นฐานของความยุติธรรมและความร่วมมือระหว่างประเทศ"[1] ภายในธรรมนูญมีการกำหนดหลักการชี้นำขององค์กร อันเพื่อรักษาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม รวมถึงการมอบอำนาจและการปฏิบัติงานของหน่วยงานคณะกรรมการรัฐมนตรีและรัฐสภาสมัชชาอีกด้วย
ประเทศผู้ลงนามดั้งเดิมใน ค.ศ. 1949 ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร แม้ว่าปัจจุบันจะมีผู้ลงนามและให้สัตยาบันธรรมนูญทั้งหมด 46 รัฐในยุโรป มีเพียงเบลารุส คาซัคสถาน และนครรัฐวาติกัน (สันตะสำนัก) เท่านั้นที่มิได้เป็นสมาชิก ในขณะที่รัสเซียถูกขับออกจากสภายุโรปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2022 หลังจากเป็นสมาชิกได้ 26 ปี (เป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ถูกขับไล่ออกจากองค์กร) เนื่องจากการรุกรานยูเครนที่เป็นประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นการละเมิดธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง[2]
สนธิสัญญาได้รับการจดทะเบียนกับสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1951 ภายใต้หมายเลขสนธิสัญญา I:1168 เล่ม 87 หน้า 103[3][4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]
- ↑ "The Russian Federation is excluded from the Council of Europe - Portal - www.coe.int".
- ↑ "UN Cumulative Treaty Index" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
- ↑ "Statute of the Council of Europe as registered with the UN" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.