ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารโลก
The World Bank
สถาปนา7 กรกฎาคม 1944 (80 ปีก่อน) (1944-07-07)
ประเภทสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
สถานะตามกฎหมายสนธิสัญญา
สํานักงานใหญ่เลขที่ 1818 ถนนเอช
เขตตะวันตกเฉียงเหนือ
วอชิงตัน ดี.ซี.[1]
สมาชิก
189 ประเทศ[2]
บุคลากรหลัก
องค์กรปกครอง
กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group; WBG)
เว็บไซต์www.worldbank.org

ธนาคารโลก (อังกฤษ: World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ[5] (อังกฤษ: International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 189 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก

วัตถุประสงค์

[แก้]

เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิกด้วยการให้บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน

ประวัติการก่อตั้ง

[แก้]

จากการประชุมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจ ที่เบร็ตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการร่างกฎบัตรขึ้นมาสองฉบับเพื่อจัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยทั้งสองสถาบันมีการแบ่งความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน กองทุนการเงินระหว่างประเทศจะให้การสนับสนุนทางการเงินระยะสั้น เพื่อช่วยประเทศต่าง ๆ แก้ปัญหาดุลการชำระเงินในขณะที่ธนาคารโลกจะให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาระยะกลางและระยะยาวในรูปแบบเงินกู้ยืม โครงการพัฒนาที่เน้นเฉพาะเป็นโครงการไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปความแตกต่างนี้ก็ลดน้อยลงไปช่วงที่โลกเกิดวิกฤตการณ์การเงินในช่วงปี พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523 ธนาคารโลกก็เริ่มปล่อยเงินกู้ระยะสั้น เพื่อการปรับปรุงเชิงโครงสร้างประสานกับกองทุนด้วยเช่นกัน

องค์กรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การสหประชาชาติ ผ่านทางสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council-ECOSOC) ในฐานะหน่วยงานชำนาญการพิเศษ แต่การตัดสินใจในเรื่องการให้เงินกู้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของธนาคารโลกเท่านั้น ธนาคารโลกทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติหลายหน่วยงาน เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP)

ที่ตั้ง

[แก้]
  1. สำนักใหญ่ 1818 H Street N.W. Washington, D.C. 20433, usa
  2. สำนักงานใหญ่สาขานิวยอร์ก 1 Dag Hammarskjold Plaza 885 2nd Avenue, 26th Floor New York, N.Y. 10017, U.S.A.
  3. สำนักงานใหญ่สาขาปารีส 66 avenue d’Iéna 75116 Paris, France
  4. สำนักงานสาขาประเทศไทย ชั้น 30 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เก็บถาวร 2004-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About the World Bank". worldbank.org.
  2. https://www.worldbank.org/en/about/leadership/members "Member Countries". Retrieved on 2 January 2022.
  3. "David Malpass, a US Treasury official and Donald Trump's pick, appointed World Bank president". scroll.in. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  4. "World Bank Group Leadership". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  5. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อโครงการชลประธานแม่กลองใหญ่ ราชกิจจานุเบกษา
  1. ธนาคารโลก เก็บถาวร 2005-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]