ตำรวจดับเพลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหน้าที่ตำรวจดับเพลิงกำลังดูแลการจราจรในบริเวณที่เกิดเหตุ

ตำรวจดับเพลิง (อังกฤษ: Fire police) คือเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ หรืออาสาสมัครดับเพลิง ได้รับฝึกอบรมพิเศษและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจในการดับเพลิงเวลาเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้ตำรวจดับเพลิงยังมีหน้าที่การรักษาความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุ ดำเนินการจราจรและการประสานงาน การกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และงานอื่น ๆ อีกมากมาย

ภารกิจ[แก้]

  • การควบคุมการจราจรในที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ความปลอดภัยสำหรับนักผจญเพลิง
  • การควบคุมฝูงชนและประสานงาน
  • ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรม
  • ความช่วยเหลือ

ตำรวจดับเพลิงในประเทศต่างๆ[แก้]

ไทย[แก้]

กองบังคับการตำรวจดับเพลิง
Fire Police Thailand
บก.ดพ.
ตรากองบังคับการตำรวจดับเพลิง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง4 สิงหาคม ร.ศ.124 (พ.ศ. 2456)
ผู้ก่อตั้งจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
ยุบเลิก16 กันยายน พ.ศ. 2546
หน่วยงานสืบทอด
สำนักงานใหญ่กรมตำรวจ
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ, ผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง (พ.ศ. 2543 – 2546)

กรุงเทพมหานครได้รับมอบภารกิจดับเพลิงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 พร้อมได้มีพิธีรับมอบภารกิจ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546

             สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหนังสือที่ ตช. 006.28/11825  ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 และหนังสือที่ ตช.0006.28/3582 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 เชิญประชุมหารือการประสานงานเกี่ยวกับการโอนภารกิจกองบังคับการตำรวจดับเพลิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับภารกิจการถวายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในเขตพระราชฐานที่ประทับ ซึ่งในคราวการประชุมในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 นั้น ได้มีข้อสรุปในเรื่องกำลังพล อาคารสถานที่ วัสดุ – อุปกรณ์ และยานพาหนะ และในเรื่องการถวายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในเขตพระราชฐานที่ประทับทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งกรุงเทพมหานครจะต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยจะต้องปฏิบัติภารกิจถวายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดในระยะแรกของการรับโอนจะต้องสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติภารกิจการถวายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยระยะหนึ่งจนกว่ากระทรวงมหาดไทยจะมีความพร้อม

  • รายนามผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง
    • 1. พันตำรวจตรี ชั้น รัศมีทัต พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2490
    • 2. พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์เกี่ยว ทินกร พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2500
    • 3. พลตำรวจตรี หม่อมหลวงจเร สุทัศน์ พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2511
    • 4. พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2516
    • 5. พลตำรวจตรี แวน สุทัศน์ พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517
    • 6. พลตำรวจตรี สุวิทย์ โสตถิทัต พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
    • 7. พลตำรวจตรี เฉลิมศักดิ์ โรจนประดิษฐ์ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519
    • 8. พลตำรวจตรี ศักดิ์ระพี ปรักกมะกุล พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2525
    • 9. พลตำรวจตรี ทศ ธรรมกุล พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2528
    • 10. พลตำรวจตรี จงเสน่ห์ สุวรรณจินดา พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2533
    • 11. พลตำรวจตรี ไพบูลย์ สัมมาทัต พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
    • 12. พลตำรวจตรี ชาตรี สุทัศน์ ณ อยุธยา​ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537
    • 13. พลตำรวจตรี เอนก ว่องวานิช พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
    • 14. พลตำรวจตรี พีระพล สุนทรเกตุ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
    • 15. พลตำรวจตรี สุพจน์ สิริโยธิน พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543
    • 16. พลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546

สหรัฐอเมริกา[แก้]

ตำรวจดับเพลิงอยู่ในสิบสี่รัฐของสหรัฐอเมริการวมทั้งรัฐคอนเนตทิคัต​, รัฐเดลาแวร์ , รัฐฟลอริดา ,รัฐแมริแลนด์ , รัฐแมสซาชูเซตส์​, รัฐนิวเจอร์ซีย์​, รัฐนิวยอร์ก​,รัฐนอร์ทแคโรไลนา​,รัฐเมน​, รัฐโอไฮโอ ,รัฐเพนซิลเวเนีย และรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย

เวียดนาม[แก้]

ในเวียดนามกรมตำรวจดับเพลิงและกู้ภัยเวียดนาม อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ

เยอรมนี[แก้]

รถตำรวจดับเพลิงในเยอรมณี

เป็นเจ้าหน้าที่ซี่งอยู่กับหน่วยดับเพลิงเยอรมณี เมื่อเวลาเกิดเหตุเจ้าหน้าที่จะทำการปิดการจราจรตรงที่เกิดเหตุ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]