ข้ามไปเนื้อหา

ดราก้อนบอลไฟเตอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดราก้อนบอลไฟเตอส์
ผู้พัฒนาอาร์กซิสเตมเวิกส์
ผู้จัดจำหน่ายบันไดนัมโคเอนเตอร์เทนเมนต์
กำกับจุงยะ ซี โมโตมูระ
อำนวยการผลิต
  • โทชิมิจิ โมริ
  • โทโมโกะ ฮิโรกิ
ออกแบบเรียวซูเกะ โคดานิ
โปรแกรมเมอร์ทากูโระ คายูมิ
ศิลปินคัตสึกิ มูไก
แต่งเพลง
  • โทชิยูกิ คิชิ
  • ฮิโรมิ มิซูตานิ
  • เค็นจิ คาโต
  • เรโนะ
ชุดดราก้อนบอล
เอนจินอันเรียลเอนจิน 4
เครื่องเล่น
วางจำหน่ายวินโดวส์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
นินเท็นโด สวิตช์
เพลย์สเตชัน 5, เอกซ์บอกซ์ ซีรีส์ เอกซ์/เอส
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ดราก้อนบอลไฟเตอส์ (อังกฤษ: Dragon Ball FighterZ)[a] (ออกเสียงว่า "ไฟเตอส์")[1] เป็นเกมต่อสู้แบบ 2.5 มิติ[2][3][4] ที่พัฒนาโดยบริษัทอาร์กซิสเตมเวิกส์ และเผยแพร่โดยบันไดนัมโคเอนเตอร์เทนเมนต์ เกมนี้อิงจากแฟรนไชส์ดราก้อนบอล ซึ่งวางจำหน่ายในระบบเพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในภูมิภาคส่วนใหญ่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 และในประเทศญี่ปุ่นในเดือนถัดไป ตลอดจนวางจำหน่ายทั่วโลกสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 ส่วนเวอร์ชันสำหรับเพลย์สเตชัน 5 และเอกซ์บอกซ์ ซีรีส์ เอกซ์/เอส กำลังพยายามพร้อมกับการอัปเดตที่เพิ่มโรลแบ็กเน็ตโค้ดสำหรับเวอร์ชันเหล่านี้ รวมถึงไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ดราก้อนบอลไฟเตอส์ให้ผู้เล่นเลือกทีมที่มีตัวละครที่เล่นได้ 3 ตัวและความช่วยเหลือเฉพาะสำหรับแต่ละคน จากนั้นต่อสู้กับปัญญาประดิษฐ์ หรือคู่ต่อสู้ที่เป็นมนุษย์ด้วยทีมตัวละคร 3 ตัวของพวกเขา เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ โดยหลายคนกล่าวถึงว่าเกมนี้เป็นหนึ่งในเกมต่อสู้ที่ดีที่สุดที่เปิดตัวในเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่แปด ซึ่งระบบการต่อสู้ของเกม, รายชื่อตัวละคร, ภาพ, โหมดเนื้อเรื่อง และดนตรีล้วนได้รับคำชมอย่างสูงในขณะที่ฟังก์ชันออนไลน์ถูกติเตียน ทั้งนี้ เกมดังกล่าวประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ด้วยยอดขายมากกว่า 8 ล้านชุดทั่วโลกใน ค.ศ. 2021

รูปแบบการเล่น

[แก้]

รูปแบบการเล่นได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดจากเกมต่อสู้อื่น ๆ อีกหลายเกม กล่าวคือ รูปแบบการควบคุมและกลไกของทีมได้รับการยกระดับจากซีรีส์มาร์เวล vs. แคปคอม และการนำเสนอโดยรวมนั้นชวนให้นึกถึงเกมของบริษัทอาร์กซิสเตมเวิกส์อื่น ๆ ผู้เล่นแต่ละคนเลือกตัวละครสามตัวเพื่อสร้างทีม จากรายชื่อตัวละครขั้นต้นจากแฟรนไชส์ดราก้อนบอล ซึ่งตัวละครหนึ่งตัวถูกควบคุมและสามารถเปลี่ยนกับตัวละครตัวใดตัวหนึ่งได้ตลอดเวลา ผู้เล่นยังสามารถเรียกตัวละครอื่น ๆ ของพวกเขาเพื่อทำการ "ช่วยเหลือ" (Assist) ซึ่งช่วยให้สามารถโจมตีและคอมโบกับทั้งทีมได้พร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เล่นชนะเกม ตัวละครทั้งสามในทีมเดียวกันของอีกฝ่ายจะต้องถูกกำจัด และหากทั้งสองทีมไม่แพ้ก่อนหมดเวลา ทีมที่ได้รับความเสียหายโดยรวมน้อยที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ

นอกเหนือจากท่าที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวแล้ว ผู้เล่นยังมีท่าทั่วไปอีกมาก ด้วย "อันตรธานโจมตี" ผู้เล่นสามารถใช้ชี่เพื่อวาร์ปไปทางด้านหลังตัวละครของคู่ต่อสู้ทันที และโจมตีพวกเขาที่ด้านหลัง สิ่งนี้มีประโยชน์หลายอย่าง ตั้งแต่การหลบเลี่ยงลูกพลังของศัตรู ไปจนถึงการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วรอบ ๆ เวที หรือการต่อคอมโบ นอกจากนี้ ท่า "ดราก้อนรัช" สามารถทะลุทะลวงการ์ดของคู่ต่อสู้ และหากทำได้สำเร็จ จะมีตัวเลือกระหว่างคอมโบกลางอากาศหรือบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนไปใช้ตัวละครอื่น ส่วนการเหาะโจมตีอย่าง "ซูเปอร์แดช" จะมุ่งไปที่ตัวละครนำของคู่ต่อสู้ และสามารถผ่านลูกพลังที่อ่อนแอกว่าได้ สุดท้ายนี้ ผู้เล่นสามารถ "ชาร์จชี่" เพื่อเพิ่มเกจชี่ด้วยตนเองได้ เช่นเดียวกับเกมต่อสู้ของดราก้อนบอลก่อนหน้า

เกมดังกล่าวมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น "ระบบเทพเจ้ามังกร" ที่ช่วยให้ผู้เล่นรวบรวมดราก้อนบอลทีละลูกเมื่อการต่อสู้ดำเนินไป ดราก้อนบอลแบบสุ่มจะมอบให้แก่ผู้เล่นที่ทำไลต์ออโตคอมโบสำเร็จ ส่วนดราก้อนบอลแบบเฉพาะเจาะจงสามารถหาได้จากการทำคอมโบหลาย ๆ ครั้งให้สำเร็จ โดยจำนวนการปะทะจะเป็นตัวกำหนดว่าจะได้รับดราก้อนบอลลูกใด เมื่อลูกแก้วทั้งเจ็ดรวมตัวกันและผู้เล่นทำไลต์ออโตคอมโบด้วยชี่ เทพเจ้ามังกรจะให้พรและอนุญาตให้ผู้เล่นเลือกหนึ่งในผลประโยชน์ต่อไปนี้: ให้สปาร์กลิงบลาสต์ที่สองแก่นักสู้, ชุบชีวิตพันธมิตรที่ตาย ฟื้นฟูพลังชีวิตของนักสู้ หรือฟื้นฟูพลังชีวิตตลอดแมตช์ที่เหลือ ส่วนอีกคุณสมบัติหนึ่งคือ "ดราแมติกโมเมนส์" ซึ่งเป็นฉากคัตซีนพิเศษที่ปรากฏขึ้นเมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดการต่อสู้โดยขึ้นอยู่กับตัวละครที่เกี่ยวข้องและฉากที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จากซีรีส์ดราก้อนบอล ซึ่งสามารถใช้ได้จากท่ายืนหยัดโจมตีปกติหรืออันตรธาน (ณ ซีซั่น 2) ในฐานะหมัดเด็ด/จบคอมโบ[5]

ส่วนซีซัน 3 อำนวยให้ผู้เล่นเลือกรูปแบบแอสซิสต์ที่แตกต่างกันสามรูปแบบก่อนการแข่ง นอกจากนี้ ในฤดูกาลดังกล่าว คุณสมบัติสปาร์กลิงบลาสต์และการจำกัดเวลาของมันก็ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกหากสมาชิกในทีมของผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่จนมุม

ดราก้อนบอลไฟเตอส์มีระบบการจัดอันดับทั้งในโหมดอาร์เคดและในโหมดหลายผู้เล่นออนไลน์[6] ซึ่งผู้เล่นจะเพิ่มอันดับของตนเองพร้อมกับชัยชนะที่ตามมา

ตัวละคร

[แก้]

บัญชีรายชื่อพื้นฐานนี้ประกอบด้วยตัวละครที่เล่นได้ 21 ตัว โดยตัวละครเพิ่มเติม 3 ตัวสามารถปลดล็อกได้ผ่านการเล่นเกม และอีก 20 ตัวที่เปิดตัวในฐานะเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้ (DLC) แบบชำระเงินผ่านซีรีส์ "ไฟเตอส์พาสเสส" รวมเป็น 44 ตัว[7][8][9] ส่วนมนุษย์จักรกล หมายเลข 21 เป็นตัวละครใหม่ที่เป็นต้นฉบับของเกม ซึ่งออกแบบโดยอากิระ โทริยามะ ผู้สร้างซีรีส์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ญี่ปุ่น: ドラゴンボール ファイターズโรมาจิโดรากอน โบรุ ไฟตาซุ ในภาษาญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bandai Namco US on Twitter: "It's pronounced "fighters" [NOT "Fighter-Z"] 😎". January 24, 2018. สืบค้นเมื่อ January 9, 2019.
  2. "Dragon Ball Fighters '3D' Fighting Game Briefly Listed Worldwide in Early 2018 (Updated)". Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  3. "GuiltyGearXrd's Art Style : The X Factor Between 2D and 3D - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  4. "The Animation of Guilty Gear Xrd & Dragon Ball FighterZ - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  5. "Dragon Ball FighterZ - How to Perform a Dramatic Finish". January 30, 2019.
  6. Ramsey, Robert (November 21, 2017). "Dragon Ball FighterZ Has a Full Arcade Mode with Ranks, Difficulty Levels, and Unlockable Costume Colours". Push Square. สืบค้นเมื่อ January 26, 2018.
  7. Romano, Sal (October 23, 2017). "Dragon Ball FighterZ launches January 26 in the Americas and Europe". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2023. สืบค้นเมื่อ October 23, 2017.
  8. DRAGON BALL FighterZ - FighterZ Pass 3 Trailer (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2020-02-10
  9. https://pbs.twimg.com/media/DJ2Qb0TV4AEJSjg.jpg แม่แบบ:Bare URL image

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]