ซรีเดวา
ซรีเดวา (อักษรโรมัน: Sri Deva) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยในราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เคยส่งทูตไปประเทศจีนใน ค.ศ. 1028[1][2][3] ในพระราชพงศาวดารประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซ่ง (Sòng Shǐ) บันทึกพระนามของพระองค์เป็น Shih-li Tieh-hua ซึ่งน่าจะไม่ใช่พระนามตำแหน่งเต็มของพระองค์[1] ใน ค.ศ. 1025 ราเชนทระที่ 1 แห่งราชวงศ์โจฬะได้โจมตีดินแดนหลายแห่งของอาณาจักรศรีวิชัย ทำให้พระองค์ปกครองได้ไม่นาน[2][3] โดยฝ่ายตรงข้ามได้จับกุมซังรามา วิจายาตุงกาวาร์มันแห่งศรีวิชัยที่ยอมแพ้แล้ว[1] การโจมตีของโจฬะไม่ได้มาพร้อมกับการครอบครองดินแดนของอาณาจักรศรีวิชัย[4][5]
หลังจากการโจมตี อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยในสุมาตราน่าจะได้รับการฟื้นฟู อย่างไรก็ตาม บริเวณนี้ได้ทำสัญญาสงบศึกกับอาณาจักรกาฮูรีปันที่อ้างอำนาจเหนือเกาะชวาทั้งหมด[2] ไอร์ลังกา กษัตริย์ดาฮูรีปัน น่าจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอาณาจักรศรีวิชัยใน ค.ศ. 1030 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งต่อความมุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ[1][2]
ในรัชสมัยของซรีเดวา ศาสนาพุทธแบบมหายานเป็นที่นิยมในอาณาจักรศรีวิชัยอย่างมาก[2] ซึ่งมีที่มาจากหลักฐานการค้นพบรูปปั้นโลกนาถ (โลเกศวร โพธิสัตว์) ที่ตานาปูลี ซึ่งปั้นขึ้นใน ค.ศ. 1024[2] และจดหมายจากอติศะ พระเนปาลที่เยี่ยมชมอาณาจักรศรีวิชัยในช่วง ค.ศ. 1011-23[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Cœdès, George (1968). The Indianized States of South-East Asia (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 142-144. ISBN 9780824803681.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Hall, D.G.E. (1981). History of South East Asia (ภาษาอังกฤษ). Macmillan International Higher Education. p. 67-68. ISBN 9781349165216.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 Hazra, Kanai Lal (2007). Indonesia: Political History and Hindu, and Buddhist Cultural Influences (ภาษาอังกฤษ). Decent Books. p. 25. ISBN 9788186921388.
- ↑ Journal of Ancient Indian History (ภาษาอังกฤษ). D.C. Sircar. 1972. p. 111.
- ↑ Asiatic Society (Calcutta, India) (1965). Year Book of the Asiatic Society (ภาษาอังกฤษ). p. 16.