ช่องว่างระหว่างเพศ
หน้าตา
ช่องว่างระหว่างเพศ เป็นความแตกต่างระหว่างคนหลากหลายเพศ สะท้อนให้เห็นในหลายภาคส่วนในหลายสังคม มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิงซึ่งสะท้อนให้เห็นในความสำเร็จหรือทัศนคติทางสังคม การเมือง ปัญญา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ[1]
ตัวอย่างได้แก่:
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ ความแตกต่างโดยเฉลี่ยระหว่างค่าตอบแทนชายและหญิงที่ทำงาน โดยผู้หญิงมักได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ชาย
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในออสเตรเลีย ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและบางครั้งก็เพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในอินเดียความแตกต่างของรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในการจ้างงานที่ได้รับค่าจ้างและตลาดแรงงานในอินเดีย
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในนิวซีแลนด์ ความแตกต่างในค่าจ้างรายชั่วโมงเฉลี่ยของชายและหญิงในนิวซีแลนด์
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในรัสเซียการแบ่งแยกอาชีพตามเพศ และการเลือกปฏิบัติของตลาดแรงงานในรัสเซีย โดยเฉพาะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในสหรัฐอเมริกา อัตราส่วนค่ามัธยฐานระหว่างหญิงต่อชายหรือรายได้เฉลี่ยของคนทำงานเต็มเวลาในสหรัฐอเมริกา
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างชายและหญิงที่ทำงานในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์
- ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศในการเล่นกีฬา ค่าตอบแทนในการเล่นกีฬาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะนักกีฬาหญิงที่มีรายได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทกีฬา
- ช่องว่างระหว่างเพศในปากีสถาน ความแตกต่างระหว่างพลเมืองชายและหญิงในปากีสถานในแง่ของการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและทัศนคติทางวัฒนธรรม
- ช่องว่างระหว่างเพศในการศึกษา การเลือกปฏิบัติทางเพศในระบบการศึกษาที่ส่งผลต่อทั้งชายและหญิงในระหว่างและหลังประสบการณ์การศึกษา
- ช่องว่างระหว่างเพศในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่าน โดยพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วเด็กผู้ชายและผู้ชายมีมากกว่าวิชาคณิตศาสตร์ ในขณะที่เด็กผู้หญิงและผู้หญิงมีทักษะการอ่านเหนือกว่า
- ความแตกต่างทางเพศในการฆ่าตัวตายอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จและพฤติกรรมฆ่าตัวตายที่แตกต่างกัน ผู้หญิงมักมีความคิดฆ่าตัวตายมากกว่า แต่ผู้ชายฆ่าตัวตายบ่อยกว่า
- ช่องว่างระหว่างเพศของวิกิพีเดีย ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ให้ข้อมูลในวิกิพีเดียส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีชีวประวัติเกี่ยวกับผู้หญิงค่อนข้างน้อย และหัวข้อที่เป็นที่สนใจของผู้หญิงไม่ค่อยได้รับความครอบคลุมมากนัก
- ช่องว่างระหว่างเพศในการลงคะแนนเสียงในสหรัฐอเมริกา ความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์ของชายและหญิงที่ลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา
- ช่องว่างการสำเร็จความใคร่ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่อ้างถึงความแตกต่างทั่วไประหว่างชายและหญิงต่างเพศในแง่ของความพึงพอใจทางเพศ
- ช่องว่างระหว่างเพศยุคดิจิทัล[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ข้อโต้แย้งเรื่องช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศของบีบีซี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2017 และ 2018 ซึ่งเผยให้เห็นช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศที่บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
- เพศทวิลักษณ์ การจำแนกเพศออกเป็นสองรูปแบบที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะโดยระบบทางสังคมหรือความเชื่อทางวัฒนธรรม
- ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคมที่ชายและหญิงไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
- ช่องว่างเงินบำนาญระหว่างเพศ ผลกระทบสะสมของช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ
- Global Gender Gap Report ซึ่งเป็นดัชนีที่เผยแพร่โดย World Economic Forum ซึ่งออกแบบมาเพื่อวัดความเท่าเทียมทางเพศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "What is the gender gap (and why is it getting wider)?" (ภาษาอังกฤษ). World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2020.
- ↑ De Andrés del Campo, Susana; Collado Alonso, Rocío; García-Lomas Taboada, José Ignacio (19 มิถุนายน 2020). "Brechas digitales de género. Una revisión del concepto". Etic@net. Revista científica electrónica de Educación y Comunicación en la Sociedad del Conocimiento. 20 (1): 34–58. doi:10.30827/eticanet.v20i1.15521. ISSN 1695-324X.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ford, H.; Wajcman, J. (2017). "'Anyone can edit', not everyone does: Wikipedia's infrastructure and the gender gap". Social Studies of Science. 47 (4): 511–527. doi:10.1177/0306312717692172.
หน้านี้เป็นบัญชีบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น มีชื่อเดียวหรือทำนองเดียวกัน เรียกว่า "หน้าชี้ทาง" ถ้าลิงก์ภายในวิกิพีเดียไทยเองนำพาคุณมาผิดที่นี่ คุณจะเปลี่ยนลิงก์นั้นไปยังปลายทางที่ถูกต้องก็ได้ |