ชยันต์ ปเฏล
ชยันต์ ปเฏล | |
---|---|
เกิด | ชยันต์ มุกุนทรัย ปเฏล 10 เมษายน ค.ศ. 1950 ชามนคร อินเดีย |
พลเมือง | สหรัฐอเมริกา |
อาชีพ | ศัลยแพทย์ |
นายจ้าง | โรงพยาบาลบุนแดเบิร์กเบส |
สถานะทางคดี | ได้รับการปล่อยตัว (พักโทษ) |
พิพากษาลงโทษฐาน | ฉ้อโกงรวม 4 กระทง |
ข้อหา | ฉ้อโกง ฆ่าคนโดยไม่เจตนา ทำร้ายร่างกายสาหัส |
บทลงโทษ | ฉ้อโกง – จำคุก 2 ปี (พ.ศ. 2556) ฆ่าคนโดยไม่เจตนา – ไม่ผิด (พ.ศ. 2556) ทำร้ายร่างกายสาหัส – ไม่ผิด (พ.ศ. 2556) |
รายละเอียด | |
รัฐ | รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
ชยันต์ มุกุนทรัย ปเฏล (อักษรโรมัน: Jayant Mukundray Patel, เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2493) เป็นแพทย์ชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศอินเดีย ที่ถูกกล่าวหาว่าได้ปฏิบัติวิชาชีพด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขณะเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลบุนแดเบิร์กเบส ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจากปเฏลเป็นข่าวโด่งดังใน พ.ศ. 2548 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เข้าต้องคำพิพากษาฆ่าคนโดยไม่เจตนาและทำร้ายร่างกายมีโทษจำคุกเจ็ดปี[1] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ศาลสูงได้ยกเลิกคำพิพากษาเดิมและสั่งให้มีการพิจารณาคดีใหม่[2] ในการดำเนินคดีใหม่นี้เข้าได้ต่อรองและรับสารภาพในความผิดที่เบากว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปเฏลถูกสั่งห้ามประกอบวิชาชีพแพทย์อีกต่อไปในประเทศออสเตรเลีย[3]
ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา
[แก้]ชยันต์ ปเฏล เกิดที่รัฐคุชราต[4] และเรียนวิชาแพทย์ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เอ็มพี ชาห์ มหาวิทยาลัยเสาราษฏระ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท[5] ต่อมาย้ายไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจำบ้านที่ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์[4]
อาชีพ
[แก้]เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2527 ในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่าปเฏลมิได้ตรวจคนไข้ให้เรียบร้อยก่อนลงมือผ่าตัด[6]
เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2532 ปเฏลย้ายไปสังกัดโรงพยาบาล ไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน
เมืองบันดาเบิร์ก รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2546 ปเฏลย้ายไปเป็นผู้อำนวยการแผนกผ่าตัด ณ โรงพยาบาลบันดาเบิร์กเบส ซึ่งเขาถูกจ้างโดย ควีนส์แลนด์เฮลธ์ ภายใต้โครงการความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งให้แพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศเข้าไปทำงานในชนบทที่ขาดแคลนบุคลากร เขาได้รับการแต่งตั้งนี้แม้ว่าจะไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัด[7]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]สารคดีโทรทัศน์ของซีเอ็นเอ็น เมื่อ พ.ศ. 2553 ให้ชื่อตอนว่า "They Called Him 'Dr. Death'" (ผู้คนเรียกเขาว่า คุณหมอแห่งความตาย)[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ R v Patel [2010] QSC 233 (1 กรกฎาคม 2553), Supreme Court (Qld, Australia).
- ↑ Patel v The Queen [2012] HCA 29, (2012) 247 CLR 531 (24 สิงหาคม 2555), High Court (Australia).
- ↑ Taylor, John (May 15, 2015). "Bundaberg surgeon Jayant Patel barred from ever practising medicine again in Australia". ABC News. สืบค้นเมื่อ May 15, 2015.
- ↑ 4.0 4.1 "The life and times of rogue surgeon Jayant Patel". The Australian. June 30, 2010. สืบค้นเมื่อ March 7, 2017.
- ↑ Bell, Rachael. "Australia's Dubious Dr. Jayant Patel". Crime Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2014. สืบค้นเมื่อ April 28, 2014.
- ↑ "Australian officials to seek criminal charges against 'Dr. E. Coli'". CBC News. November 21, 2006. สืบค้นเมื่อ March 20, 2013.
- ↑ Healy, Judith (2011). Improving Health Care Safety and Quality: Reluctant Regulators. Ashgate Publishing. pp. 34–35. ISBN 978-0-7546-7644-7. สืบค้นเมื่อ June 26, 2012.
- ↑ "They Called Him 'Dr Death'". CNN. November 2, 2010. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.
- ↑ "The Making of a Bad Surgeon". CNN. November 2, 2010. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.