ชยันต์ ปเฏล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชยันต์ ปเฏล
เกิดชยันต์ มุกุนทรัย ปเฏล
(1950-04-10) 10 เมษายน ค.ศ. 1950 (74 ปี)
ชามนคร อินเดีย
พลเมืองสหรัฐอเมริกา
อาชีพศัลยแพทย์
นายจ้างโรงพยาบาลบุนแดเบิร์กเบส
สถานะทางคดีได้รับการปล่อยตัว (พักโทษ)
พิพากษาลงโทษฐานฉ้อโกงรวม 4 กระทง
ข้อหาฉ้อโกง
ฆ่าคนโดยไม่เจตนา
ทำร้ายร่างกายสาหัส
บทลงโทษฉ้อโกง – จำคุก 2 ปี (พ.ศ. 2556)
ฆ่าคนโดยไม่เจตนา – ไม่ผิด (พ.ศ. 2556)
ทำร้ายร่างกายสาหัส – ไม่ผิด (พ.ศ. 2556)
รายละเอียด
รัฐรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย
รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา
รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ชยันต์ มุกุนทรัย ปเฏล (อักษรโรมัน: Jayant Mukundray Patel, เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2493) เป็นแพทย์ชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศอินเดีย ที่ถูกกล่าวหาว่าได้ปฏิบัติวิชาชีพด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขณะเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลบุนแดเบิร์กเบส ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจากปเฏลเป็นข่าวโด่งดังใน พ.ศ. 2548 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เข้าต้องคำพิพากษาฆ่าคนโดยไม่เจตนาและทำร้ายร่างกายมีโทษจำคุกเจ็ดปี[1] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ศาลสูงได้ยกเลิกคำพิพากษาเดิมและสั่งให้มีการพิจารณาคดีใหม่[2] ในการดำเนินคดีใหม่นี้เข้าได้ต่อรองและรับสารภาพในความผิดที่เบากว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปเฏลถูกสั่งห้ามประกอบวิชาชีพแพทย์อีกต่อไปในประเทศออสเตรเลีย[3]

ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา[แก้]

ชยันต์ ปเฏล เกิดที่รัฐคุชราต[4] และเรียนวิชาแพทย์ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ เอ็มพี ชาห์ มหาวิทยาลัยเสาราษฏระ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท[5] ต่อมาย้ายไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจำบ้านที่ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์[4]

อาชีพ[แก้]

เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2527 ในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่าปเฏลมิได้ตรวจคนไข้ให้เรียบร้อยก่อนลงมือผ่าตัด[6]

เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2532 ปเฏลย้ายไปสังกัดโรงพยาบาล ไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน

เมืองบันดาเบิร์ก รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2546 ปเฏลย้ายไปเป็นผู้อำนวยการแผนกผ่าตัด ณ โรงพยาบาลบันดาเบิร์กเบส ซึ่งเขาถูกจ้างโดย ควีนส์แลนด์เฮลธ์ ภายใต้โครงการความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งให้แพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศเข้าไปทำงานในชนบทที่ขาดแคลนบุคลากร เขาได้รับการแต่งตั้งนี้แม้ว่าจะไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัด[7]

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

สารคดีโทรทัศน์ของซีเอ็นเอ็น เมื่อ พ.ศ. 2553 ให้ชื่อตอนว่า "They Called Him 'Dr. Death'" (ผู้คนเรียกเขาว่า คุณหมอแห่งความตาย)[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. R v Patel [2010] QSC 233 (1 กรกฎาคม 2553), Supreme Court (Qld, Australia).
  2. Patel v The Queen [2012] HCA 29, (2012) 247 CLR 531 (24 สิงหาคม 2555), High Court (Australia).
  3. Taylor, John (May 15, 2015). "Bundaberg surgeon Jayant Patel barred from ever practising medicine again in Australia". ABC News. สืบค้นเมื่อ May 15, 2015.
  4. 4.0 4.1 "The life and times of rogue surgeon Jayant Patel". The Australian. June 30, 2010. สืบค้นเมื่อ March 7, 2017.
  5. Bell, Rachael. "Australia's Dubious Dr. Jayant Patel". Crime Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2014. สืบค้นเมื่อ April 28, 2014.
  6. "Australian officials to seek criminal charges against 'Dr. E. Coli'". CBC News. November 21, 2006. สืบค้นเมื่อ March 20, 2013.
  7. Healy, Judith (2011). Improving Health Care Safety and Quality: Reluctant Regulators. Ashgate Publishing. pp. 34–35. ISBN 978-0-7546-7644-7. สืบค้นเมื่อ June 26, 2012.
  8. "They Called Him 'Dr Death'". CNN. November 2, 2010. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.
  9. "The Making of a Bad Surgeon". CNN. November 2, 2010. สืบค้นเมื่อ November 18, 2010.