ข้ามไปเนื้อหา

จิงโจ้น้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิงโจ้น้ำ
จิงโจ้น้ำตัวเต็มวัย
Gerris remigis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Hemiptera
อันดับย่อย: Heteroptera
อันดับฐาน: Gerromorpha
วงศ์: Gerridae
Leach, 1815
สกุล: Gerris
สปีชีส์: G.remigis
ชื่อทวินาม
Gerris remigis
(L.)

จิงโจ้น้ำ (Water Striders / Pond Skaters) เป็นแมลงที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทมวนอยู่ในอันดับ Hemiptera วงศ์ Gerridae ชื่อสามัญ Water Striders หรือ Pond skaters มีชื่อเรียกต่างกันคือ จิงโจ้น้ำ มวนจิงโจ้น้ำ แมงกะพุ้งน้ำ

ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์

[แก้]

จิงโจ้น้ำจัดเป็นแมลง[1] ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขา 6 ขาเป็นปล้อง มีหนวดยาว 1 คู่ บริเวณลำตัวมีสีดำหรือน้ำตาลเข้มเรียวยาว มีทั้งที่มีปีกและไม่มีปีก

หนวด

[แก้]

จิงโจ้น้ำมีหนวดจำนวน 1 คู่ โดยส่วนที่อยู่ติดกับส่วนหัวมีลักษณะแข็งคล้ายขนแปรง ความยาวของหนวดนี้สามารถบอกความแตกต่างของแต่ละสปีชีส์ได้

ส่วนอก

[แก้]

ส่วนอกของจิงโจ้น้ำมีขนาดที่เล็กและแคบ มีขนาดประมาณ 1.6-36 มิลลิเมตร มีขนาดที่แตกต่างกันตามแต่ละสปีชีส์ มีขนขนาดเล็กปกคลุมอยู่ซึ่งมีความมันวาวช่วยป้องกันไม่ให้จมน้ำ

จิงโจ้น้ำอาศัยแรงตึงผิวของน้ำเมื่อมีการผสมพันธุ์

ขา

[แก้]

จิงโจ้น้ำประกอบด้วยขา 3 คู่ โดยขาแต่ละคู่ทำหน้าที่ต่างกันคือ ขาคู่ที่ 1 ขาคู่หน้ามีลักษณะสั้นกว่าขาคู่อื่นทำหน้าที่ในการจับตัวเหยื่อ หรืออาหาร ขาคู่ที่ 2 ขาคู่กลางมีความเรียวและยาวทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนที่ และขาคู่ที่ 3 ขาคู่หลังทำหน้าที่ในการปรับทิศทางขณะเคลื่อนที่[2]

ปีก

[แก้]

ปีกของจิงโจ้น้ำจะอยู่บริเวณหลังของส่วนอก และบางสปีชีส์ไม่มีปีก ความยาวปีกจะต่างกันในแต่ละสปีชีส์ บริเวณที่อยู่อาศัยที่เป็นน้ำไหลจะพบจิงโจ้น้ำมีปีกที่สั้น ส่วนบริเวณที่น้ำนิ่งจะพบจิงโจ้น้ำที่มีปีกยาว

ความสามารถในการเดินบนน้ำ

[แก้]

จิงโจ้น้ำอาศัยแรงตึงผิว(surface tension)[3]ของน้ำซึ่งยึดเหนี่ยวโมเลกุลของน้ำเข้าไว้ด้วยกันเกิดความยืดหยุ่นทำให้ไม่จมน้ำ และมีขาที่ยาวมีขนขนาดเล็กปกคลุมอยู่ ขนขนาดเล็กเหล่านี้เรียกว่า ไมโครซีเต(miceosetae) ทำหน้าที่ในการกักเก็บอากาศเอาไว้ทำให้เป็นฟิล์มบางๆป้องกันไม่ให้จมน้ำ และทำให้สามารถเคลื่อนที่อยู่บนผิวน้ำได้

วัฎจักรชีวิต

[แก้]

ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่อยู่บนผิวน้ำ ไข่นี้จะพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัยโดยการเปลี่ยนแปลง 5 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน และมีการลอกคราบ ตัวอ่อนของจิงโจ้น้ำจะมีพฤติกรรมและกินอาหารคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่จะมีขนาดเล็กกว่า(ตัวอ่อนยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร)มีสีซีดกว่าและไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ จากตัวอ่อนของจิงโจ้น้ำจะใช้เวลาประมาณ 60-70 วัน ในการพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัย

กลุ่มของจิงโจ้น้ำกำลังกินผึ้ง

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

โดยทั่วไปจิงโจ้น้ำจะอาศัยอยู่บริเวณพื้นผิวน้ำนิ่ง ส่วนใหญ่อาศัยในแหล่งน้ำจืด ชอบสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแมลง และแพลงก์ตอน

อาหารและการหาอาหาร

[แก้]

จิงโจ้น้ำจะกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมงมุมและแมลงที่ตกลงบนผิวน้ำ โดยจะใช้ขาหน้าในการจับเหยื่อจากนั้นใช้ปากสำหรับเจาะดูดของเหลวจากตัวเหยื่อเป็นอาหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. [[ลิงก์เสีย]]โลกของแมลง
  2. [[1]]Bio-Gang[ลิงก์เสีย]
  3. [[2]]เด็กวิทย์สนุกคิด