ข้ามไปเนื้อหา

งูเขียวหางไหม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูเขียวหางไหม้
งูเขียวหางไหม้ไม่ทราบชนิด (Trimeresurus sp.)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Viperidae
วงศ์ย่อย: Crotalinae
สกุล: Trimeresurus
Lacépède, 1804
ชนิด
35 ชนิด (โดยประมาณ[1])
ชื่อพ้อง
  • Trimeresurus Lacépède, 1804
  • Craspedocephalus
    Kuhl & van Hasselt, 1822
  • Trimeresura - Fleming, 1822
  • Craspedocephalus - Gray, 1825
  • Megaera Wagler, 1830
  • Atropos Wagler, 1830
  • Trimesurus - Gray, 1842[2]

สำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว

งูเขียวหางไหม้ เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae)

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก[3]

เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่[4]

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด[1] ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก[4] เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (T. purpureomaculatus), งูหางแฮ่มกาญจน์ (T. kanburiensis), งูปาล์ม (T. puniceus) เป็นต้น โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ คือ งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต (T. phuketensis) ที่พบในป่าดิบชื้น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Trimeresurus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. งูเขียวหางไหม้
  4. 4.0 4.1 "งูเขียวหางไหม้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-01-13.
  5. "ทีมมูลนิธิฯ พบ"งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต"พันธุ์ใหม่ของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trimeresurus ที่วิกิสปีชีส์