คาร์มินา บูรานา (ออร์ฟ)
คาร์มินา บูรานา (ละติน: Carmina Burana; /ˈkɑrmɨnə bʊˈrɑːnə/ ; แปลว่า "Songs from Benediktbeuern") เป็นคันตาตาที่แต่งโดยคาร์ล ออร์ฟ ในปี ค.ศ. 1935-1936 มาจากบทกวีในยุคกลาง 24 ชิ้น จากทั้งหมด 254 ชิ้นที่มีชื่อว่า "Carmina Burana" ซึ่งแต่งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 - 12 เกี่ยวกับ "วงล้อแห่งโชคลาภ" (Wheel of Fortune) ต้นฉบับบทกวีเขียนด้วยภาษาละติน ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1803 และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ โดยออร์ฟได้อ่านฉบับแปลภาษาอังกฤษซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1884 และเกิดแรงบันดาลใจที่จะแต่งคันตาตาชิ้นนี้
คันตาตานี้ออกแสดงครั้งแรกที่แฟรงเฟิร์ตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1937 และประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มแรก กลายเป็นผลงานดนตรีที่จากเยอรมนีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในขณะนั้น [1] และยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในทศวรรษ 1960 หลังสิ้นสุดสงครามโลก
คาร์มินา บูรานา แบ่งออกเป็น 25 มูฟเมนต์ โดยแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ได้แก่
Fortuna Imperatrix Mundi
- i: O Fortuna
- ii: Fortune plango vulnera
I – Primo vere ("In Spring")
- iii: Veris leta facies
- iv: Omnia sol temperat
- v: Ecce gratum
Uf dem Anger ("In the Meadow", "On the Lawn")
- vi: Tanz ("Dance"–instrumental)
- vii: Floret Silva
- viii: Chramer, gip die varwe mir
- ix:
- a) Reie ("round dance"–instrumental)
- b) Swaz hie gat umbe
- c) Chume, chum, geselle min
- d) Swaz hie gat umbe (reprise)
- x: Were diu werlt alle min
II – In Taberna ("In the Tavern")
- xi: Estuans interius
- xii: Olim lacus colueram
- xiii: Ego sum abbas
- xiv: In taberna quando sumus
III – Cour d'amours ("Court of Love")
- xv: Amor volat undique
- xvi: Dies, nox et omnia
- xvii: Stetit puella
- xviii: Circa mea pectora
- xix: Si puer cum puellula
- xx: Veni, veni, venias
- xxi: In trutina
- xxii: Tempus est iocundum
- xxiii: Dulcissime
Blanziflor et Helena ("Blanchefleur and Helen")
- xxiv: Ave formosissima
Fortuna Imperatrix Mundi ("Fortune, Empress of the World")
- xxv: O Fortuna (reprise)
มูฟเมนต์ที่ 1 และ 25 ซึ่งเริ่มต้นและลงท้าย มีชื่อว่า O Fortuna เป็นงานดนตรีของออร์ฟที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้รับการบันทึกว่าเป็นงานดนตรีคลาสสิกที่ถูกบรรเลงบ่อยครั้งที่สุดในสหราชอาณาจักรในรอบ 75 ปีมานี้ [2] และปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมเป็นจำนวนมาก [3] เช่นใช้เป็นเพลงทีเซอร์ก่อนการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน ในเดนเจอรัส เวิลด์ ทัวร์ และอัลบัม Video Greatest Hits – HIStory
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Taruskin, Richard: The Oxford History of Western Music. Vol. 4 "The Early Twentieth Century". Oxford: Oxford University Press, 2005, 764.
- ↑ Most played classical music of the past 75 years
- ↑ ""O Fortuna" in popular culture". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.