ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–เยอรมนี
เยอรมนี |
ญี่ปุ่น |
ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1860 จากการเยือนญี่ปุ่นของปรัสเซีย (ก่อนเกิดจักรวรรดิเยอรมันใน ค.ศ. 1871) ประเทศญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วหลังการฟื้นฟูเมจิใน ค.ศ. 1867 โดยมีแบบอย่างจากการแลกเปลี่ยนทางปัญญาและวัฒนธรรมจากเยอรมนี หลัง ค.ศ. 1900 ญี่ปุ่นเข้าข้างเกาะบริเตน และเยอรมนีกับญี่ปุ่นเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับเยอรมนีใน ค.ศ. 1914 และยึดครองดินแดนของเยอรมนีในประเทศจีนและแถบแปซิฟิกไว้ได้
ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ทั้งสองประเทศมีทัศนคติทางการทหารต่อบริเวณหวงห้ามของตนอย่างห้าวหาญ นำไปสู่การกระชับมิตร และในที่สุด ทั้งสองประเทศได้เป็นพันธมิตรทางการเมืองและการทหารที่รวมถึงประเทศอิตาลี หรือฝ่ายอักษะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายอักษะถูกจำกัดเนื่องจากระยะทางไกลระหว่างมหาอำนาจฝ่ายอักษะ ส่วนใหญ่แล้ว ญี่ปุ่นและเยอรมนีทำศึกสงครามแยกกัน และสุดท้ายแล้วต่างฝ่ายต่างยอมจำนน
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ความสัมพันธ์ทางการเมืองของทั้งสองเริ่มเกิดขึ้นใหม่หลังจากนั้นไม่นาน และปัจจุบันทั้งสองประเทศให้ความสำคัญกับประเด็นทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ญี่ปุ่นและเยอรมนีมีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับสามและสี่ของโลก ตามลำดับ[1] และได้ผลประโยชน์จากการร่วมมือทางการเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ
จากผลสำรวจแบร์เทลส์มันน์ฟาวน์เดชันในปลายปี ค.ศ. 2012 ชาวเยอรมันมองประเทศญี่ปุ่นในด้านบวกอย่างท่วมท้น และมองว่าญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งน้อยลง และเป็นพันธมิตรมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นมองประเทศเยอรมนีในด้านบวกเช่นกัน โดยชาวญี่ปุ่น 97% มองเยอรมนีในแง่ดี และเพียง 3% ที่มองเยอรมนีในแง่ลบ[2]