ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์จีน–ญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์จีน – ญี่ปุ่น
Map indicating location of จีน and ญี่ปุ่น

จีน

ญี่ปุ่น

โดยภูมิศาสตร์แล้วจีนและญี่ปุ่นถูกคั่นกลางด้วยพื้นสมุทรแคบ ๆ เท่านั้น แต่อิทธิพลของจีนที่มีต่อญี่ปุ่นนั้นมากมายทั้งระบบการเขียนหนังสือ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ศาสนา ตัวอักษร และกฎหมาย หลังจากที่ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในแถบเอเชียและบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นก็ได้นำพาตนเองก้าวข้ามเวลาเข้าสู่ความทันสมัย (การปฏิรูปเมจิ) และมองจีนว่าเป็นชาติโบราณล้าสมัย จากการที่จีนไม่สามารถป้องกันตัวเองจากกองกำลังต่างชาติได้ (จากสงครามฝิ่นและคณะทูตอังกฤษ - ฝรั่งเศส) ญี่ปุ่นผูกมัดอยู่กับการรุกรานและก่ออาชญกรรมสงครามต่อจีนอยู่เป็นเวลาในช่วง พ.ศ. 2437 – พ.ศ. 2488 เช่นเดียวกับทัศนคติของญี่ปุ่นที่มีต่อจีนในปัจจุบันเกี่ยวกับความบาดหมางระหว่างกันในอดีต ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายครั้ง

จีนและญี่ปุ่นถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจโลกใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและสามในปี พ.ศ. 2551 ขณะที่การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่า 266.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตร้อยละ 12.5 ในปี พ.ศ. 2550 ทำให้จีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย นอกจากนี้จีนยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย

ด้านการเมือง

[แก้]

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนได้เสนอหลัก 3 ประการในการรื้อฟื้นความ สัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งก็คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่รัฐบาลเดียวที่เป็นตัวแทนของจีน ไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งอันศักดิ์สิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่แบ่งแยกมิได้ สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างญี่ปุ่นกับเจียง ไคเชก เป็นสนธิสัญญาที่มิชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ จึงจำต้องยกเลิก เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2515 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้มาเยือนจีน วันที่ 29 กันยายน รัฐบาลของจีนกับญี่ปุ่นได้ประกาศคำแถลงร่วม ความสัมพันธ์ระหว่างจีนญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะปกติ

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศโดยทั่วไปได้รักษาไว้ซึ่งแนวโน้มแห่งการพัฒนา ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่มุ่งความเป็นจริงได้ผลที่ดี แต่อีกด้านหนึ่ง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ไปคารวะศาลเจ้ายาซูกูนิหลายครั้งจนได้กลายเป็นปัญหาอันสำคัญที่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

จีนและญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันสำคัญต่อกัน ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 10 ปี ส่วนจีนก็เป็นคู่ค้าใหญ่และตลาดสินค้าส่งออกใหญ่อันดับที่ 2 ของญี่ปุ่น

ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรมและสาธารณสุข

[แก้]

หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุซึ่งความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ทั้งลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างจีนและญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 หลังจากนั้น การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งได้ขยายตัวกว้างขึ้น จนได้ก่อรูปขึ้นเป็นสภาวะที่มีหลายรูปแบบ หลายแนวทาง ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 จีนและญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจีน-ญี่ปุ่น ตกลงพัฒนาการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศในด้านวัฒนธรรม การศึกษา วิชาการ การกีฬาและด้านอื่น ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลสองประเทศตกลงจัดปีวัฒนธรรมจีนและปีวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดค่ายพักแรมฤดูร้อนของเยาวชนและอนุชนจีน–ญี่ปุ่น–เกาหลีใต้ การประกวดความรู้ทางโทรทัศน์จีน–ญี่ปุ่น–เกาหลีใต้ และการสัมมนาทางเศรษฐกิจจีน-ญี่ปุ่น เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  • Hunt, Michael H. (1996). The Genesis of Chinese Communist Foreign Policy. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-10311-5.
  • Stegewerns, Dick (Ed.) (2003). Nationalism and Internationalism in Imperial Japan. New York: RoutledgeCurzon. ISBN 0-203-98905-8.
  • Jian, Sanqiang (1996). Foreign Policy Restructuring as Adaptive Behavior: China’s Independent Foreign Policy 1982-1989. Maryland: University Press of America.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • วุฒิชัย มูลศิลป์. (2545). เมื่อประวัติศาสตร์เป็นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาติในเอเชีย. วารสารประวัติศาสตร์. น. 2-19.
  • Barnouin, Barbara & Yu Changgen (1998) Chinese Foreign Policy during the Cultural Revolution, Columbia University Press
  • Berger, Thomas U., Mike M. Mochizuki & Jitsuo Tsuchiyama [eds.] (2007) Japan in international politics: the foreign policies of an adaptive state, Lynne Rienner
  • Dent, Christopher M. [Ed.] (2008) China, Japan and regional leadership in East Asia Edward Elgar
  • Drifte, Reinhard (2002) Japan's Security Relations with China since 1989: From Balancing to Bandwagoning? Routledge
  • Emmott, Bill (2008) Rivals: How the Power Struggle between China, India and Japan Will Shape Our Next Decade, Harcourt
  • Hunt, Michael H. (1996) The Genesis of Chinese Communist Foreign Policy, Columbia University Press
  • Iechika, Ryoko (2003) Nittchu Kankei no Kihon Kozo: Futatsu no Mondaiten/Kokonotsu no Kettei Jiko [The Fundamental Structure of Sino-Japanese Relations: Two problems, nine decision matters], Koyo Shobo
  • Iriye, Akira (1992) China and Japan in the global setting, Harvard University Press
  • Jian, Sanqiang (1996) Foreign Policy Restructuring as Adaptive Behavior: China’s Independent Foreign Policy 1982-1989, University Press of America
  • Jin, Xide (2004) 21 Seiki no Nittchu Kankei [Sino-Japanese Relations of the 21st Century], Nihon Chohosha
  • Kawashima, Shin [Ed.] (2007) Chugoku no Gaiko: Jiko Ninshiki to Kadai [Chinese diplomacy: Self-awareness and problems], Yamakawa Shuppansha
  • Kawashima, Yutaka (2003) Japanese Foreign Policy at the Crossroads: Challenges and Options for the Twenty-First Century, Brookings Institution Press
  • Ogata, Sadako (1988) Normalization with China: A Comparative Study of U.S. and Japanese Processes, University of California
  • Rose, Caroline (1998) Interpreting history in Sino-Japanese relations: a case study in political decision making, Routledge
  • Rose, Caroline (2005) Sino-Japanese Relations: Facing the Past, Looking to the Future? Routledge
  • Söderberg, Marie (2002) Chinese-Japanese Relations in the Twenty-first Century: Complementarity and Conflict, Routledge
  • Stegewerns, Dick [Ed.] (2003) Nationalism and Internationalism in Imperial Japan, Routledge
  • Verschuer, Charlotte von. Kristen Lee Hunter (trans) (2006) " Across the Perilous Sea: Japanese Trade with China and Korea from the Seventh to the Sixteenth Centuries", Cornell University East Asia Program
  • Vogel, Ezra F., Yuan Ming & Tanaka Akihiko [eds.] (2003) The Golden Age of the US-China-Japan Triangle, 1972-1989’, Harvard University Press
  • Wan, Ming (2006) Sino-Japanese Relations: Interaction, Logic, and Transformation, Stanford University Press
  • Whiting, Allen S. (1989) China Eyes Japan, University of California Press
  • Yabuki, Susumu (1988) Posuto Toshohei [After Deng Xiaoping], Sososha
  • Zhao, Quansheng (1996) Japanese Policymaking: the Politics behind Politics: Informal Mechanisms & the Making of China Policy, [New Ed.] Oxford University Press

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]