ข้ามไปเนื้อหา

ควากษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่องโค้งเจดีย์ทางเข้าถ้ำโลมัสฤษี เป็นควากษะแบบที่ใช้ประดับโถงเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุด อายุราว 300 ปีก่อน ค.ศ.

ในสถาปัตยกรรมอินเดีย ควากษะ หรือ จันทรศาลา (ในอินเดียเหนือ) และ กูฑุ หรือ นาสี (ในอินเดียใต้)[1] เป็นคำที่ทั่วไปใช้เรียกโครงสร้างแม่บทที่เน้นส่วนโค้งโอจี ส่วนโค้งครึ่งวงกลม หรือส่วนโค้งรูปเกือกม้าที่ใช้ประดับโครงสร้างของมนเทียรแบบอินเดีย โดยเฉพาะในมนเทียรเจาะหิน ในรูปแบบดั้งเดิม ควากษะมีรูปคล้ายกับภาพตัดขวางของโครงสร้างทรงโค้งประทุน เมื่อใช้ประดับโถงเจดีย์รอบหน้าต่างบานใหญ่อาจเรียกว่าเป็นโครงสร้างโค้งเจดีย์ (chaitya arch)[2] ในภายหลังได้มีวิวัฒนาการและใช้งานโดยแพร่หลาย จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น "โครงสร้างแม่บทที่พบได้มากที่สุดในสถาปัตยกรรมมนเทียรฮินดู"[3] ควากษะ เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่แปลว่าดวงตาของกระทิงหรือดวงตาของวัว ในเชิงสัญลักษณ์ฮินดู ควากษะมีไว้แทนแสงและความรัศมีความยิ่งใหญ่ของเทวรูปองค์ประธานในครรภคฤห์ รวมถึงอาจมองว่าเป็นหน้าต่างให้แก่เทพเจ้าภายในครรภคฤห์ได้มองออกโลกภายนอกเช่นกัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. gavākṣa, candraśālās, kūḍu. Harle, 49, 166, 276.
  2. "Glossary of Indian Art". สืบค้นเมื่อ 2015-05-18.
  3. Harle, 48
  4. Elgood (2000), 103

บรรณานุกรม[แก้]

  • Elgood, Heather, Hinduism and the Religious Arts, 2000, A&C Black, ISBN 0304707392, 9780304707393, google books
  • Hardy, Adam, Indian Temple Architecture: Form and Transformation : the Karṇāṭa Drāviḍa Tradition, 7th to 13th Centuries, 1995, Abhinav Publications, ISBN 8170173124, 9788170173120, google books
  • Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
  • Kramrisch, Stella, The Hindu Temple, Volume 1, 1996 (originally 1946), ISBN 8120802225, 9788120802223, google books
  • Michell, George, The Penguin Guide to the Monuments of India, Volume 1: Buddhist, Jain, Hindu, 1989, Penguin Books, ISBN 0140081445