ข้ามไปเนื้อหา

คลิกเบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Fictional examples of "chumbox" style adverts, employing common clickbait tactics[1] of using an information gap to encourage reader curiosity, and promising easy-to-read numbered lists

คลิกเบต หรือ พาดหัวยั่วให้คลิก[2] (อังกฤษ: clickbait) เป็นคำเหยียดใช้หมายถึงเนื้อหาเว็บที่มุ่งสร้างผลประโยชน์จากการโฆษณาออนไลน์ โดยเฉพาะเมื่อไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือความถูกต้องของข้อมูล แต่อาศัยวิธีพาดหัวแบบเร้าใจเพื่อดึงดูดให้คลิกเข้าไปชมทันทีและเพื่อเชิญชวนให้ส่งเนื้อหานั้นต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ พาดหัวล่อคลิกมักอาศัยประโยชน์จากความสงสัย โดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ[3][4][5]

นับแต่ปี 2014 เกิดปฏิกิริยาต่อต้านวิธีการเช่นนี้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต[5][6] The Onion หนังสือพิมพ์แนวเสียดสี ออกเว็บไซต์ใหม่ชื่อ ClickHole ซึ่งล้อเลียนเว็บไซต์ล่อคลิกอย่าง Upworthy และ Buzzfeed[7] และในเดือนสิงหาคม 2014 Facebook ประกาศว่า กำลังใช้มาตรการทางเทคนิคเพื่อลดผลกระทบจากการล่อคลิกในเครือข่ายสังคมของตน[8][9][10] โดยอาศัยเวลาที่ผู้อ่านใช้ไปในการเข้าชมเว็บไซต์ที่ลิงก์มานั้นเป็นวิธีแยกแยะเนื้อหาล่อคลิกออกจากเนื้อหาอย่างอื่น[11]

ศัพท์บัญญัติ

[แก้]

คำว่า คลิกเบต ได้รับการบัญญัติโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ใช้คำว่า พาดหัวยั่วให้คลิก ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ใน พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2566[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gardiner, Bryan (18 December 2015). "You'll Be Outraged At How Easy It Was To Get You To Click On This Headline". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  2. 2.0 2.1 "ราชบัณฑิตฯ บัญญัติศัพท์ "คลิกเบต" เป็นคำไทยว่า "พาดหัวยั่วให้คลิก"". pptvhd36.com. 2023-10-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Derek Thompson (November 14, 2013). "Upworthy: I Thought This Website Was Crazy, but What Happened Next Changed Everything". The Atlantic.
  4. Katy Waldman (May 23, 2014). "Mind the 'curiosity gap': How can Upworthy be 'noble' and right when its clickbait headlines feel so wrong?". National Post.
  5. 5.0 5.1 Emily Shire (July 14, 2014). "Saving Us From Ourselves: The Anti-Clickbait Movement". The Daily Beast.
  6. Christine Lagorio-Chafkin (Jan 27, 2014). "Clickbait Bites. Downworthy Is Actually Doing Something About It". Inc.
  7. Oremus, Will (June 12, 2014). "Area Humor Site Discovers Clickbait", Slate. Retrieved August 4, 2014.
  8. Lisa Visentin (August 26, 2014). "Facebook wages war on click-bait". The Sydney Morning Herald.
  9. Andrew Leonard (Aug 25, 2014). "Why Mark Zuckerberg's war on click bait proves we are all pawns of social media". Salon.
  10. Khalid El-Arini and Joyce Tang (August 25, 2014). "News Feed FYI: Click-baiting". Facebook Inc.
  11. Ravi Somaiya (August 25, 2014). "Facebook Takes Steps Against 'Click Bait' Articles". The New York Times.