คลิกเบต
คลิกเบต (อังกฤษ: clickbait) เป็นคำเหยียดใช้หมายถึงเนื้อหาเว็บที่มุ่งสร้างผลประโยชน์จากการโฆษณาออนไลน์ โดยเฉพาะเมื่อไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือความถูกต้องของข้อมูล แต่อาศัยวิธีพาดหัวแบบเร้าใจเพื่อดึงดูดให้คลิกเข้าไปชมทันทีและเพื่อเชิญชวนให้ส่งเนื้อหานั้นต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ พาดหัวล่อคลิกมักอาศัยประโยชน์จากความสงสัย โดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ[1][2][3]
นับแต่ปี 2014 เกิดปฏิกิริยาต่อต้านวิธีการเช่นนี้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต[3][4] The Onion หนังสือพิมพ์แนวเสียดสี ออกเว็บไซต์ใหม่ชื่อ ClickHole ซึ่งล้อเลียนเว็บไซต์ล่อคลิกอย่าง Upworthy และ Buzzfeed[5] และในเดือนสิงหาคม 2014 Facebook ประกาศว่า กำลังใช้มาตรการทางเทคนิคเพื่อลดผลกระทบจากการล่อคลิกในเครือข่ายสังคมของตน[6][7][8] โดยอาศัยเวลาที่ผู้อ่านใช้ไปในการเข้าชมเว็บไซต์ที่ลิงก์มานั้นเป็นวิธีแยกแยะเนื้อหาล่อคลิกออกจากเนื้อหาอย่างอื่น[9]
ดูเพิ่ม[แก้]
- หนังสือพิมพ์เหลือง (yellow journalism)
- การตลาดแบบบอกต่อ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Derek Thompson (November 14, 2013). "Upworthy: I Thought This Website Was Crazy, but What Happened Next Changed Everything". The Atlantic.
- ↑ Katy Waldman (May 23, 2014). "Mind the 'curiosity gap': How can Upworthy be 'noble' and right when its clickbait headlines feel so wrong?". National Post.
- ↑ 3.0 3.1 Emily Shire (July 14, 2014). "Saving Us From Ourselves: The Anti-Clickbait Movement". The Daily Beast.
- ↑ Christine Lagorio-Chafkin (Jan 27, 2014). "Clickbait Bites. Downworthy Is Actually Doing Something About It". Inc.
- ↑ Oremus, Will (June 12, 2014). "Area Humor Site Discovers Clickbait", Slate. Retrieved August 4, 2014.
- ↑ Lisa Visentin (August 26, 2014). "Facebook wages war on click-bait". The Sydney Morning Herald.
- ↑ Andrew Leonard (Aug 25, 2014). "Why Mark Zuckerberg's war on click bait proves we are all pawns of social media". Salon.
- ↑ Khalid El-Arini and Joyce Tang (August 25, 2014). "News Feed FYI: Click-baiting". Facebook Inc.
- ↑ Ravi Somaiya (August 25, 2014). "Facebook Takes Steps Against 'Click Bait' Articles". The New York Times.