กำหนดรายการกุญแจ
หน้าตา
ในวิทยาการเข้ารหัสลับ กำหนดรายการกุญแจ (อังกฤษ: key schedule) เป็นขั้นตอนวิธีที่คำนวณกุญแจเฉพาะรอบที่ใช้ทั้งหมดจากกุญแจไซเฟอร์ อธิบายว่า ในการคำนวณไซเฟอร์ ไซเฟอร์ผลคูณ (product cipher) เป็นไซเฟอร์ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้ารหัสหรือถอดรหัสข้อมูลโดยทำเป็นรอบ ๆ (round) ขั้นตอนวิธีแต่ละรอบปกติจะเหมือนกันยกเว้นค่าตรึงเฉพาะรอบที่เรียกว่า ค่าคงตัวเฉพาะรอบ (round constant) และค่าอนุพัทธ์เฉพาะรอบที่ได้มาจากกุญแจไซเฟอร์ซึ่งเรียกว่า กุญแจเฉพาะรอบ (round key)
ตัวอย่าง
[แก้]- ไซเฟอร์บางอย่างมีกำหนดรายการกุญแจง่าย ๆ เช่น บล็อกไซเฟอร์ที (Tiny Encryption Algorithm) จะแบ่งกุญแจไซเฟอร์ขนาด 128 บิตออกเป็นกุญแจย่อยขนาด 32 บิต 4 ตัวแล้ววนใช้กุญแจย่อยอย่างซ้ำ ๆ ในแต่ละรอบ
- ดีอีเอ็ส (Data Encryption Standard) มีกำหนดรายการกุญแจที่แบ่งกุญแจไซเฟอร์ 56 บิตออกเป็นกุญแจย่อย 28 บิตสองตัว โดยต่อแต่นั้นก็จะจัดการกุญแจย่อยต่างหาก ๆ ในแต่ละรอบ กุญแจย่อยแต่ละตัวจะหมุนซ้าย 1-2 บิตแล้วเลือกกุญแจเฉพาะรอบขนาด 48 บิตโดยแต่ละ 24 บิตจะมาจากกุญแจย่อยทั้งสอง การหมุนกุญแจมีผลให้ใช้บิตในเซตต่าง ๆ กันเพื่อทำกุญแจเฉพาะรอบแต่ละตัว บิตแต่ละบิตของกุญแจไซเฟอร์จะใช้ในกุญแจเฉพาะรอบ 14 ตัวจาก 16 ตัว
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- Lars R. Knudsen and John Erik Mathiassen, On the Role of Key Schedules in Attacks on Iterated Ciphers, ESORICS 2004, pp322-334.
- Uri Blumenthal and Steven M. Bellovin, A Better Key Schedule for DES-like Ciphers, Proceedings of PRAGOCRYPT '96.