การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์
การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ | |
---|---|
ประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 17 มกราคม พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | นูริอา ดา ฌิสแปร์ต |
ถัดไป | รูเฌ ตูร์เร็น |
ประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญา | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2555 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 | |
ถัดไป | ฌอร์ดี ซันเช็ซ อี ปิกัญญ็อล |
สมาชิกสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา สำหรับจังหวัดบาร์เซโลนา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 | |
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองซาบาเด็ลย์ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2546 – 2550 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาริอา การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ อี ยูอิส 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 แชร์ตา กาตาลุญญา สเปน |
เชื้อชาติ | สเปน |
พรรคการเมือง | อิสระ ฌุนส์ปัลซี (พ.ศ. 2558–2560) ฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐนิยมแห่งกาตาลุญญา (พ.ศ. 2546–2550) |
บุตร | 2 คน |
ที่อยู่อาศัย | ซาบาเด็ลย์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอิสระแห่งบาร์เซโลนา |
อาชีพ | ครู, นักเขียน, นักการเมือง |
วิชาชีพ | ครูสอนภาษา |
ลายมือชื่อ | |
มาริอา การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ อี ยูอิส (กาตาลา: Maria Carme Forcadell i Lluís; เกิดวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักภาษากาตาลา นักเคลื่อนไหว และนักการเมืองจากแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน เธอเคยเป็นประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญาเช่นเดียวกับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง และเป็นที่รู้จักจากการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชกาตาลุญญา
ฟูร์กาเด็ลย์มีส่วนร่วมในองค์การนอกภาครัฐที่สนับสนุนภาษา วัฒนธรรม และเอกราชของกาตาลุญญาหลายองค์การ โดยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเวทีเพื่อภาษากาตาลา เป็นกรรมการบริหารอ็อมนิอุมกุลตูรัลสาขาซาบาเด็ลย์ และเป็นประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558[1][2]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ฟูร์กาเด็ลย์ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาในฐานะส่วนหนึ่งของพันธมิตรเลือกตั้งฌุนส์ปัลซี[3] จากนั้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาและดำรงตำแหน่งนี้จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เธอถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีในข้อหากบฏเนื่องจากเหตุการณ์เกี่ยวกับการลงประชามติและการประกาศเอกราชกาตาลุญญา[4] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 เธอถูกศาลสูงสุดสเปนพิพากษาว่ามีความผิดฐานปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง ต้องโทษจำคุกและถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งสาธารณะเป็นเวลา 11 ปี 6 เดือน[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jordi Sànchez, nou president de l'Assemblea Nacional Catalana". CCMA.cat. 16 May 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ Bataller, Marc (April 30, 2012). "L'actitud hostil d'Espanya ens ajudarà a tenir estat". El Punt Avui (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
- ↑ "Diputats electes". El Punt Avui (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 11 October 2015.
- ↑ Congostrina, Alfonso L. (2019-02-01). "Catalan independence leaders moved to Madrid jails ahead of trial". El País (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1134-6582. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
- ↑ "Carme Forcadell, condenada a 11 años y medio por sedición". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 2019-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.