การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์
ประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้านูริอา ดา ฌิสแปร์ต
ถัดไปรูเฌ ตูร์เร็น
ประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญา
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2555 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
ถัดไปฌอร์ดี ซันเช็ซ อี ปิกัญญ็อล
สมาชิกสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา
สำหรับจังหวัดบาร์เซโลนา
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองซาบาเด็ลย์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2546 – 2550
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาริอา การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ อี ยูอิส

29 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
แชร์ตา กาตาลุญญา สเปน
เชื้อชาติสเปน
พรรคการเมืองอิสระ
ฌุนส์ปัลซี (พ.ศ. 2558–2560)
ฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐนิยมแห่งกาตาลุญญา (พ.ศ. 2546–2550)
บุตร2 คน
ที่อยู่อาศัยซาบาเด็ลย์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิสระแห่งบาร์เซโลนา
อาชีพครู, นักเขียน, นักการเมือง
วิชาชีพครูสอนภาษา
ลายมือชื่อ

มาริอา การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ อี ยูอิส (กาตาลา: Maria Carme Forcadell i Lluís; เกิดวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักภาษากาตาลา นักเคลื่อนไหว และนักการเมืองจากแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน เธอเคยเป็นประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญาเช่นเดียวกับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง และเป็นที่รู้จักจากการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชกาตาลุญญา

ฟูร์กาเด็ลย์มีส่วนร่วมในองค์การนอกภาครัฐที่สนับสนุนภาษา วัฒนธรรม และเอกราชของกาตาลุญญาหลายองค์การ โดยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเวทีเพื่อภาษากาตาลา เป็นกรรมการบริหารอ็อมนิอุมกุลตูรัลสาขาซาบาเด็ลย์ และเป็นประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558[1][2]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ฟูร์กาเด็ลย์ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาในฐานะส่วนหนึ่งของพันธมิตรเลือกตั้งฌุนส์ปัลซี[3] จากนั้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาและดำรงตำแหน่งนี้จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เธอถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีในข้อหากบฏเนื่องจากเหตุการณ์เกี่ยวกับการลงประชามติและการประกาศเอกราชกาตาลุญญา[4] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 เธอถูกศาลสูงสุดสเปนพิพากษาว่ามีความผิดฐานปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง ต้องโทษจำคุกและถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งสาธารณะเป็นเวลา 11 ปี 6 เดือน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Jordi Sànchez, nou president de l'Assemblea Nacional Catalana". CCMA.cat. 16 May 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  2. Bataller, Marc (April 30, 2012). "L'actitud hostil d'Espanya ens ajudarà a tenir estat". El Punt Avui (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  3. "Diputats electes". El Punt Avui (ภาษาคาตาลัน). สืบค้นเมื่อ 11 October 2015.
  4. Congostrina, Alfonso L. (2019-02-01). "Catalan independence leaders moved to Madrid jails ahead of trial". El País (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1134-6582. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
  5. "Carme Forcadell, condenada a 11 años y medio por sedición". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 2019-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.