การเลือกตั้งประธานาธิบดีสโลวาเกีย พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสโลวาเกีย พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 (รอบแรก)
30 มีนาคม พ.ศ. 2562 (รอบสอง)
พ.ศ. 2567 →
ผู้ใช้สิทธิร้อยละ 48.74 (รอบแรก)
ร้อยละ 41.80 (รอบสอง)
 
ผู้สมัคร ซูซานา ชาปูตอวา มาร็อช เช็ฟชอวิช
พรรค สโลวาเกียก้าวหน้า นักการเมืองอิสระ
คะแนนเสียง 1,056,582 752,403
% ร้อยละ 58.41 ร้อยละ 41.59

ผลการเลือกตั้งรอบสองแบ่งตามเขตในประเทศ
  ซูซานา ชาปูตอวา   มาร็อช เช็ฟชอวิช

ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

อันเดรย์ กิสกา
นักการเมืองอิสระ

ว่าที่ประธานาธิบดี

ซูซานา ชาปูตอวา
สโลวาเกียก้าวหน้า

การเลือกตั้งประธานาธิบดี จัดขึ้นในประเทศสโลวาเกียเมื่อวันที่ 16 มีนาคม และอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 อันเดรย์ กิสกา ประธานาธิบดีคนปัจจุบันไม่ได้ดำรงตำแหน่งต่อในสมัยที่สอง

ในรอบแรกมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีทั้งหมดสิบห้าคน ต่อมาผู้สมัครสองคนได้ถอนตัวอย่างเป็นทางการ แต่ยังต้องคงชื่อของพวกเขาไว้ในบัตรเลือกตั้ง ในรอบแรก ซูซานา ชาปูตอวา ผู้สมัครจากพรรคสโลวาเกียก้าวหน้าได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 40.6 ซึ่งทิ้งห่างจากผู้สมัครคนอื่น ๆ แต่เนื่องจากได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 บวก 1 จากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนไว้ จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง มาร็อช เช็ฟชอวิช รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปฝ่ายกิจการสหภาพพลังงาน ซึ่งรณรงค์หาเสียงในฐานะนักการเมืองอิสระ (แต่ได้การสนับสนุนจากพรรคทิศทาง – ประชาธิปไตยสังคมนิยม) ได้คะแนนตามมาเป็นอันดับที่สอง กล่าวคือ ร้อยละ 18.7 ของคะแนนเสียงทั้งหมด จึงมีสิทธิ์เข้าชิงตำแหน่งในการเลือกตั้งรอบที่สองด้วย

ในรอบที่สอง ชาปูตอวาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีด้วยคะแนนร้อยละ 58.4 ส่วนเช็ฟชอวิชได้คะแนนร้อยละ 41.6 ชาปูตอวาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่งดังกล่าว และจะเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุน้อยที่สุดของสโลวาเกียเมื่อผ่านพิธีเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ผลการสำรวจ[แก้]

วันที่ สำนัก มาร็อซ เซ็ฟชอวิช ซูซานา ซาปูตอวา
30 มีนาคม2019 การเลือกตั้งรอบสอง 41.59% 58.41%
28–29 มีนาคม 2019 Focus[1] 44.8% 55.2%
17–19 มีนาคม 2019 Median[2] 39.5% 60.5%
16 มีนาคม 2019 Focus[3] 35.6% 64.4%
26–28 กุมภาพันธ์ 2019 Focus[4] 36.0% 64.0%
27 กุมภาพันธ์ 2019 Restartup[5] 35.5% 64.5%
12–15 กุมภาพันธ์ 2019 AKO[6] 45.1% 54.9%
7–12 กุมภาพันธ์ 2019 Focus[7] 51.9% 48.1%
16–23 มกราคม 2019 Focus[8] 58.0% 42.0%

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผู้สมัคร พรรค รอบแรก รอบสอง
คะแนน % คะแนน %
มาร็อซ เซ็ฟชอวิช สโลวาเกียก้าวหน้า 870,415 40.57 1,056,582 58.41
มาร็อซ เซ็ฟชอวิช อิสระ 400,379 18.66 752,403 41.59
งดออกเสียง 13,495 38,432
รวมทั้งหมด 2,158,859 100 1,847,417 100
ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 4,429,033 48.74 4,419,883 41.80
ข้อมูล: Statistics.sk (1st round) เก็บถาวร 2019-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Statistics.sk (2nd round) เก็บถาวร 2019-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง[แก้]

  1. a.s, Petit Press. "Prieskum Focus: Čaputová by vyhrala s vyše 10-percentným náskokom". domov.sme.sk (ภาษาสโลวัก). สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
  2. "Prieskum Medianu pre RTVS: Čaputová má 60,5 percenta, Šefčovič 39,5". DennikN. สืบค้นเมื่อ 21 March 2019.
  3. "Exkluzívny prieskum pre TV Markíza: V druhom kole by mal dominovať jeden kandidát". Markiza. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
  4. "2.kolo prezidentských volieb február 2019" (PDF). Focus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  5. "Prvý prieskum bez Mistríka zachytil silnú vlnu Čaputovej". Restartup.sk (ภาษาสโลวัก). 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.
  6. "Nový prezidentský prieskum: Na druhé kolo so Šefčovičom má šance Mistrík aj Čaputová". Topky.sk. 17 February 2019. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
  7. a.s, Petit Press. "Aj Focus potvrdil rast Čaputovej, Matovič chce jej odstúpenie". domov.sme.sk (ภาษาสโลวัก). สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
  8. "Exkluzívny prieskum: Prvé reálne čísla, ktoré ukazujú, kto sa môže stať novým prezidentom". tvnoviny.sk (ภาษาสโลวัก). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-27. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.