การเข้ารหัสวิดีโอประสิทธิภาพสูง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
การเข้ารหัสวิดีโอประสิทธิภาพสูง (อังกฤษ: High Efficiency Video Coding หรือ HEVC) หลายครั้งเรียก H.265 คือมาตรฐานการบีบอัดไฟล์วิดีโอ ซึ่งมาแทนมาตรฐาน H.264/MPEG-4 AVC (การเข้ารหัสวิดีโอขั้นสูง) ที่ใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน การเข้ารหัสแบบใหม่นี้อยู่ในขั้นตอนพัฒนาร่วมกันของ ISO/IEC เอ็มเพก และ ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG) ภายใต้ชื่อ ISO/IEC 23008-2 MPEG-H Part 2 และ ITU-T H.265[1][2][3][4] โดยการเข้ารหัสวิดีโอประสิทธิภาพสูงนี้มีอัตราการบีบอัดดีกว่ามาตรฐานปัจจุบันคือ H.264/MPEG AVC ถึงสองเท่า นั่นหมายถึงคุณภาพวิดีโอที่ดีขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับโทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด ซึ่งจะมีความละเอียดจอภาพถึง 8192x4320 พิกเซล
ประสิทธิภาพการเข้ารหัส
[แก้]มาตรฐานการบีบอัดวิดีโอต่าง ๆ ย่อมมีเป้าหมายเพื่อให้มีอัตราการบีบอัดข้อมูลสูง ๆ นั่นคือใช้อัตราบิตน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาคุณภาพระดับเดิมไว้ได้[5] โดยวิธีการวัดประสิทธิภาพการเข้ารหัสของแต่ละมาตรฐานั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกคือใช้ตัวชี้วัด เช่น peak signal-to-noise ratio (PSNR) วิธีที่สองคือประเมินจากคุณภาพของวิดีโอซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าเนื่องจากเป็นสิ่งผู้ชมวิดีโอสัมผัสได้จริง[5]
+ เปรียบเทียบมาตรฐานการเข้ารหัสวีดีโอ โดยมีค่า PSNR เท่ากัน[5] | ||||
มาตรฐานการเข้ารหัส | อัตราบิตลดลงโดยเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับ | |||
---|---|---|---|---|
H.264/MPEG-4 AVC HP | MPEG-4 ASP | H.263 HLP | H.262/MPEG-2 MP | |
H.265/HEVC MP | 35.4% | 63.7% | 65.1% | 70.8% |
H.264/MPEG-4 AVC HP | - | 44.5% | 46.6% | 55.4% |
MPEG-4 ASP | - | - | 3.9% | 19.7% |
H.263 HLP | - | - | - | 16.2% |
มีการเปรียบเทียบระหว่าง HEVC MP กับ H.264/MPEG-4 AVC HP ด้วยวิธีวัดคุณภาพวิดีโอก่อนการเปรียบเทียบด้วย PSNR ดังนั้นจึงใช้ตัวเข้ารหัส HEVC รุ่นแรก ๆ ซึ่งมีประสิทธิด้อยกว่าปัจจุบันเล็กน้อย ผลการจาการเปรียบเทียบโดยอาศัยค่าคะแนนเฉลี่ยจากความคิดเห็น (mean opinion score) จะได้ว่า HEVC MP มีอัตราบิตลดลงโดยเฉลี่ยเปรียบเทียบกับ H.264/MPEG AVC HP อยู่ 49.3%[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ G.J. Sullivan; J.-R. Ohm; W.-J. Han; T. Wiegand (2012-05-25). "Overview of the High Efficiency Video Coding (HEVC) Standard" (PDF). IEEE Transactions on Circuits and Systems for Video Technology. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
- ↑ "H.265 : High efficiency video coding". ITU. 2013-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.
- ↑ ITU TSB (2010-05-21). "Joint Collaborative Team on Video Coding". ITU-T. สืบค้นเมื่อ 2012-08-24.
- ↑ "ISO/IEC FDIS 23008-2". International Organization for Standardization. 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 G.J. Sullivan; Heiko Schwarz; Thiow Keng Tan; Thomas Wiegand (2012-08-22). "Comparison of the Coding Efficiency of Video Coding Standards – Including High Efficiency Video Coding (HEVC)" (PDF). IEEE Trans. on Circuits and Systems for Video Technology. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.
- รูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์
- รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิกส์
- โทรทัศน์ความละเอียดสูง
- ขั้นตอนวิธีการบีบอัดข้อมูลแบบสูญเสียบางส่วน
- เอ็มเพก-เอช
- มาตรฐานเปิดที่ครอบคลุมโดยสิทธิบัตร
- โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด
- วีดีโอโคเดก
- การบีบอัดวีดีโอ
- ระบบโทรศัพท์ทางวิดีโอ
- ข้อเสนอแนะของ ITU-T
- ข้อเสนอแนะของ ITU-T ชุด เอช
- เอช.26x
- มาตรฐานไออีซี
- มาตรฐานไอเอสโอ