ข้ามไปเนื้อหา

การฝังเข็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การฝังเข็ม (จีน: 針灸; อังกฤษ: Acupuncture) การฝังเข็มหรือการปักเข็มเป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มสามารถระงับอาการเจ็บปวด ช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยาก (ภาวะไม่เจริญพันธุ์) ป้องกันโรคบางชนิด รวมถึงเสริมสุขภาพ การฝังเข็มเป็นแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถสืบย้อนประวัติได้ยาวนานหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] และยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย

การฝังเข็มคือการที่ใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกายของทั้งมนุษย์และสัตว์ ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีอยู่จำนวน 340000 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลักและอีก 2 เส้นรอง จำนวนเส้นลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซ้าย) มี 12 เส้น โดยแบ่งเป็นส่วนของแขน 6 เส้น และส่วนของขาอีก 6 เส้น (ส่วนอีก 2 เส้นรองจะอยู่ตรงกลางหลังและตรงกลางหน้าท้อง) ในส่วนของแขน 6 เส้น ก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ เช่นเดียวกับขาก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ แต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่ของมันอย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่าง 2 เส้นใน 6 เส้นบนแขน เส้นของปอดและ ลำไส้ใหญ่ โดยเส้นของปอดจะสิ้นสุดที่ข้างหัวนิ้วโป้ง ส่วนเส้นของลำไส้ใหญ่ จะเริ่มบริเวณด้านข้างปลายนิ้วชี้ทั้ง2เส้น นี้คือเส้นของปอดและลำไส้ใหญ่จะ สัมพันธ์กันแบบภายนอกและภายใน เป็นแบบ External & Internal relationship เส้นของปอดมีชื่อเรียกว่า เส้นไท่อินปอด (Taiyin lung meridian) เส้นของลำไส้ใหญ่มีชื่อเรียกว่า เส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ (Yangming large intestine meridian)

ในเส้นลมปราณแต่ละเส้น จะมีจุดฝังเข็ม (Acupunture points) หลายจุดจำนวนแตกต่างกันไปมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น บนเส้นไท่อินปอดจะมีอยู่ 11 จุด บนเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่จะ มีอยู่ 20 จุด แต่ละจุดก็จะมีชื่อเรียกของตัวเองทุกจุดชื่อของจุดจะแตกต่าง กันออกไป และทุกชื่อก็จะมีความหมายของตัวเอง ชื่อทั้งหมดเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง เช่นจุดที่บริเวณด้านข้าง ปลายนิ้วโป้งของเส้นไท่อินปอด มี ชื่อเรียกว่า จุดเซ่าซาง (Shao Shang) หรือจุดแรกของเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ ที่ปลายนิ้วชี้ด้านข้างมีชื่อว่าจุดซางหยาง (Shang Yang) สำหรับคนต่างชาติการจะไปจำชื่อจุด ฝังเข็มนับร้อยจุดเป็นชื่อจีนกลางเป็นเรื่องยาก ทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดรหัสขึ้นมาแทนชื่อจุดเหล่านั้น เช่นจุดเซ่าซางมีรหัสเป็น LU-11 จุดซางหยางมีรหัสเป็น LI-1 เป็นต้น

"การเตรีมตัวก่อนการรักษา" 1.ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดจนเกินไปและเป็นเสื้อผ้าที่สามารถแยกเสื้อส่วนบนกับกางเกงหรือกระโปรงส่วนล่างได้ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม 2.หากฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องรวบผมขึ้นให้เรียบร้อย เพราะการฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องใช้ความแม่นยำให้การฝังเป็นอย่างมาก 3.ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด เพราะความเครียดจะทำให้โลหิตหมุนเวียนไม่ดี 4.ชำระร่างกายให้สะอาด 5.ควรต้องพักผ่อนร่างกายมาเพียงพอ​ไม่อดหลับอดนอน 6.ควรจะทานอาหารรองท้องมาบ้าง​อย่าปล่อยให้ท้องว่างก่อนมาฝังเข็ม7.ไม่ควรดื่มเเอลกอฮอล์ลหรือของมึนเมาก่อนมาเข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็ม

โรคที่ได้ผลดีกับการรักษา

[แก้]

การฝังเข็มได้ผลดีกับอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดประจำเดือนรุนแรง อาการอ่อนแรง ปวดหัว ไมเกรน โรคเส้นเลือดในสมองตีบ อัมพฤกษ์/อัมพาต อาการชาจากโรคเบาหวาน ความดัน และโรคภูมิแพ้[1] นอกจากการฝังเข็มนั้นจะสามารถรักษาโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละมีการยอมรับกันทั่วไปเเล้วนั้น การรักษาด้วยการฝังเข็มด้วยศาสตร์ทางการเเพทย์เเผนจีนนั้นยังมุ่งเน้นการฝังเข็มเพื่่อป้องกันการเกิดโรคเเละช่วยการปรับสมดุลร่างกาย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. รักษาโรคด้วยวิธีฝังเข็ม