ข้ามไปเนื้อหา

การผสานความเชื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทพเจ้า เพอร์เซฟะนี-ไอซิส และ พลูโต-เซราปิส, เป็นตัวอย่างการผสานความเชื่อของกรีก-อียิปต์

การผสานความเชื่อ[1] (อังกฤษ: syncretism) คือความพยายามที่จะผสานความคิดหรือปรัชญาที่ต่างกันหรือตรงกันข้ามกันเข้าด้วยกัน โดยการนำตระกูลความคิดต่าง ๆ มาผสมผสานให้กลืนกันกันตามแนวปรัชญาใหม่ ที่อาจจะทำได้จากการดึงแนวเทียบของปรัชญาดั้งเดิม ธรรมเนียม และโดยเฉพาะจากเทววิทยาและปรัมปราวิทยาของศาสนาต่าง ๆ มาผสานกัน ในการสร้างพื้นฐานของความเป็นเอกทัศน์ของความคิดต่าง ๆ ดังว่าที่สามารถทำให้สร้างความเข้าใจได้จากมุมมองร่วมกัน (inclusive approach) ได้

การผสานความเชื่อมักจะใช้ในการเขียนวรรณกรรม, คีตกรรม, ศิลปะแสดงลักษณ์[2] และการแสดงออกทางวัฒนธรรม (เปรียบเทียบกับคตินิยมสรรผสาน[3]) นอกจากนั้นการผสานความเชื่อก็ยังปรากฏในงานสถาปัตยกรรมหรือทางด้านการเมืองที่เรียกว่า “การเมืองเชิงผสาน” (Syncretic Politics) แต่ความหมายหลังจะมีความหมายแตกต่างออกไปบ้าง

การผสานความเชื่อป็นคำที่นิยมใช้ในความคิดที่เกี่ยวกับศาสนาเมื่อกล่าวถึงการผสานความเชื่อของปรัชญาศาสนาต่าง ๆ ขึ้นเป็นปรัชญาใหม่ หรือ ผสานเข้าเป็นธรรมเนียมศาสนาของความเชื่อจากธรรมเนียมที่เดิมแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด การประสานนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ และสิ่งหลังอาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีประเพณีของศาสนาหลายศาสนาอยู่ด้วยกันและต่างก็มีบทบาทสำคัญในสังคม หรือในกรณีที่วัฒนธรรมถูกพิชิตและผู้พิชิตนำความเชื่อของศาสนาที่ต่างออกไปเข้ามาในสังคม แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดความเชื่อหรือประเพณีการปฏิบัติดั้งเดิมของบริเวณที่พิชิตได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศาสนากับสังคมการเมืองในอุษาคเนย์, เรียกข้อมูลวันที่ 15 มกราคม 2556
  2. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  3. "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.

ดูเพิ่ม

[แก้]