การประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ (อังกฤษ: National Medical Education Forum) ย่อว่า พศช. จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2499 วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการผลิตบัณฑิตแพทย์จากสถาบันต่าง ๆ ในขณะนั้นให้ตรงตามความต้องการของประเทศ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ (ขณะนั้นยังแยกกันอยู่) สถาบันผลิตแพทย์ และผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดประชุม
[แก้]พ.ศ. | ครั้งที่ | ผู้จัด | สถานที่ |
---|---|---|---|
2499 | 1 | มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ | แหลมแท่น บางแสน จ.ชลบุรี |
2507 | 2 | มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ | ศาลาสันติธรรม ถ.ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ |
2514 | 3 | - | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
2522 | 4 | - | โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร |
2529 | 5 | โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช | อาคารคุ้มเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ |
2536 | 6 | กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย | โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียม จ.ชลบุรี |
2544 | 7 | กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย | อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย |
2552 | 8 | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย |
2558 | 9 | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพมหานคร |
ผลการประชุม
[แก้]ผลการประชุมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตแพทย์ และการบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างชัดเจน ดังนี้ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ครั้งที่ | ผลการประชุม |
---|---|
1 | ทำให้มีการจัดการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดเพิ่มให้อีก 1 ปี |
2 | ทำให้มีการจัดหลักสูตรแพทย์เฉพาะทางที่เรียกว่าการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน |
3 | ทำให้มีการสอนรายวิชาเพิ่มเติม คือ วิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ตลอดจนการส่งนักศึกษาออกไปหาประสบการณ์ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดมากขึ้น |
4 | ทำให้มีการปรับลดหลักสูตรเตรียมแพทย์จาก 2 ปี เป็น 1 ปี และมีการแบ่ง การให้บริการทางการแพทย์ออกเป็น 3 ระดับ primary care, secondary care และ tertiary medical care ตลอดจนมี การกำหนดบทบาทของแพทย์จบใหม่ที่ชัดเจนขึ้น |
5 | ก่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนเป็นการเน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น problem-based learning |
6 | ก่อให้เกิดแนวคิดที่กว้างขวางและครอบคลุมประเด็นต่างๆหลายแง่มุม ทั้งการจัดการศึกษา การใช้และการกระจายแพทย์ และการปรับระบบบริการทางการแพทย์สาธารณสุข |
7 | ก่อให้เกิดแนวคิดระบบการประกันคุณภาพที่กว้างขวางขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอย่างบูรณาการในด้านระบบบริการสุขภาพ ระบบการใช้การกระจายแพทย์ และระบบการศึกษาแพทยศาสตร์ |
8 | ทำให้หลักสูตรแพทย์ให้ความสำคัญกับ Humanized Health Care (การให้บริการสุขภาพอย่างมีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์) และ Humanized Medical Curriculum (การจัดการเรียนการสอนชนิดที่ปลูกฝังความเป็นมนุษย์แก่แพทย์ |
9 | - |
อ้างอิง
[แก้]1 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: , 2499.
2 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: , 2507.
3 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: , 2514.
4 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร: , 2522.
5 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529. เก็บถาวร 2021-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
6 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร: , 2536. เก็บถาวร 2021-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
7 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร: กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2544. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
8 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
[http://acad.md.chula.ac.th/upload/article/49/11499738745.pdf 9 รายงานการประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.][ลิงก์เสีย]