การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554
การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นหลังการลุกฮือของประชาชนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 และจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ยังคงดำเนินต่อไป การลุกฮือส่วนใหญ่เป็นการรณรงค์การต่อต้านของพลเมือง (civil resistance) โดยปราศจากความรุนแรง ซึ่งมีลักษณะของชุดการเดินขบวน การเดินแถว พฤติกรรมการดื้อแพ่ง และการประท้วงของแรงงาน ผู้ประท้วงหลายล้านคนที่มีภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจและศาสนาอันหลากหลายต่างเรียกร้องให้โค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีอียิปต์ ฮอสนี มุบารัก แม้จะมีลักษณะสงบโดยธรรมชาติ แต่ไม่แคล้วที่การปฏิวัติจะเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังความมั่นคงและผู้ประท้วง โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 846 คน และได้รับบาดเจ็บ 6,000 คน[1][2] การลุกฮือดังกล่าวเกิดขึ้นในกรุงไคโร, อเล็กซานเดรีย และนครอื่นในอียิปต์ หลังการปฏิวัติตูนิเซีย ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของประธานาธิบดีตูนิเซียอันครองอำนาจมาอย่างยาวนานล้มลง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ หลังเผชิญกับการประท้วงและแรงกดดันหลายสัปดาห์ มุบารักได้ลาออกจากตำแหน่ง
การประท้วงดังกล่าวเป็นผลพวงส่วนหนึ่งมาจากขบวนการอาหรับสปริงที่เกิดขึ้นในแอฟริกาเหนือซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2553 ความเดือดร้อนของผู้ประท้วงอียิปต์มุ่งไปยังปัญหาด้านกฎหมายและการเมือง[3] รวมทั้งความรุนแรงของตำรวจ กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน การขาดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเสรีภาพในการแสดงออก คอร์รัปชันซึ่งควบคุมไม่อยู่ และปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงอัตราการว่างงานที่สูง ภาวะเงินเฟ้อราคาอาหาร และค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำ ความต้องการหลักจากผู้จัดการประท้วง คือ ยุติการปกครองของฮอสนี มุบารัก และยุติกฎหมายฉุกเฉิน ตลอดจนเสรีภาพ ความยุติธรรม รัฐบาลที่ไม่ใช่ทหารและตอบสนอง และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรของอียิปต์[4] การประท้วงโดยสหภาพแรงงานเพิ่มแรงกดดันต่อทางการอียิปต์[5]
เหตุประท้วงครั้งนี้ได้รับการอธิบายว่า "ไม่เคยปรากฏมาก่อน" ในอียิปต์[6] และเป็น "การแสดงออกซึ่งความไม่พอใจของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน" ของประเทศ[7] ระหว่างการประท้วงดังกล่าวได้มีผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์ในกรุงไคโรมากถึงสองล้านคน[8] นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ การจลาจลขนมปังในอียิปต์ พ.ศ. 2520[6]
ระหว่างการลุกฮือ เมืองหลวงไคโรถูกอธิบายว่าเป็น "เขตสงคราม"[9] และเมืองท่าสุเอซเป็นสถานที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงบ่อยครั้ง รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวซึ่งผู้ประท้วงฝ่าฝืน ขณะที่ตำรวจและทหารไม่บังคับใช้ การปรากฏของตำรวจกองกำลังความมั่นคงกลางของอียิปต์ ซึ่งภักดีต่อมุบารัก ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยทหารซึ่งจำกัดมาก เมื่อไม่มีตำรวจ จึงมีการปล้นสะดมโดยแก๊งซึ่งแหล่งข่าวฝ่ายต่อต้านว่า ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ เพื่อรับมือ พลเรือนจึงจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังเพื่อปกป้องละแวกบ้านของตน[10][11][12][13][14]
การตอบสนองระหว่างประเทศต่อเหตุประท้วงดังกล่าวผสมกันทั้งสนับสนุนและคัดค้าน[15] แม้ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติด้วยสันติและมุ่งสู่การปฏิรูป รัฐบาลตะวันตกส่วนใหญ่แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ หลายรัฐบาลออกคำเตือนท่องเที่ยวและพยายามอพยพพลเมืองของตนออกจากประเทศ[16]
มุบารักยุบรัฐบาลและแต่งตั้งบุคลากรทหารและอดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการทั่วไปอียิปต์ (Egyptian General Intelligence Directorate) โอมาร์ สุไลมาน เป็นรองประธานาธิบดีในความพยายามปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วย มุบารักขอรัฐมนตรีการบินและอดีตหัวหน้ากองทัพอากาศอียิปต์ อาเหม็ด ชาฟิก (Ahmed Shafik) ให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด (Mohamed Elbaradei) กลายมาเป็นบุคคลสำคัญของฝ่ายต่อต้าน โดยกลุ่มต่อต้านหลักทั้งหมดสนับสนุนบทบาทของเขาในฐานะผู้เจรจาสำหรับบางรูปแบบของรัฐบาลปรองดองถ่ายโอน[17] เพื่อรับมือกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น มุบารักจึงประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนกันยายน[18]
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ประกาศว่ามูบารักจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านอำนาจให้แก่สภากองทัพสูงสุด[19] สุไลมานกล่าวว่ามูบารักจะถ่ายโอนอำนาจให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุด เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่ามูบารักได้เดินทางออกจากกรุงไคโรแล้วและกำลังพำนักอยู่ในรีสอร์ตทะเลแดงในซาร์มอัลชีคที่ซึ่งเขามีภูมิลำเนาอยู่[20] วันที่ 24 พฤษภาคม มุบารักถูกสั่งให้เข้ารับการไต่สวนในข้อหาฆาตกรรมผู้ประท้วงโดยสงบโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งหากถูกตัดสินว่าผิดจริง อาจได้รับโทษประหารชีวิต[21]
รัฐบาลทหาร นำโดยประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัย โมฮัมเหม็ด ฮุสเซน ทันทาวี (Mohamed Hussein Tantawi) ประกาศเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ว่า จะมีการชะลอรัฐธรรมนูญ ยุบรัฐสภาทั้งสอง และทหารจะปกครองประเทศเป็นเวลาหกเดือนจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้ง คณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า รวมถึงนายกรัฐมนตรี อาเหม็ด ชาฟิก จะทำหน้าที่เป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่[22] ซาฟิกลาออกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม หนึ่งวันก่อนมีการประท้วงใหญ่เพื่อบีบให้เขาลงจากตำแหน่งตามที่วางแผนไว้ เอสซัม ชาราฟ (Essam Sharaf) อดีตรัฐมนตรีคมนาคม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน[23] แม้มุบารักจะลาออกไปแล้ว การประท้วงยังดำเนินต่อไปท่ามกลางความกังวลว่ารัฐบาลทหารจะอยู่อีกนานเท่าใดในอียิปต์ บางคนเกรงว่าทหารจะปกครองประเทศต่อไปอย่างไม่มีกำหนด[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "شيحة: مكاتب الصحة وثقت سقوط 840 شهيداً خلال ثورة 25 يناير". Almasry-alyoum.com. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
- ↑ "Egypt: Cairo's Tahrir Square fills with protesters". BBC. 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
- ↑ "Q&A: What's Behind the Unrest?". SBS. 27 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
- ↑ "Egyptian Activists' Action Plan: Translated". The Atlantic. 27 January 2011.
- ↑ "Trade unions: the revolutionary social network at play in Egypt and Tunisia". Defenddemocracy.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
- ↑ 6.0 6.1 Murphy, Dan (25 มกราคม ค.ศ. 2011). "Inspired by Tunisia, Egypt's protests appear unprecedented". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม ค.ศ. 2011.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ Kareem Fahim and Mona El-Nagaar (25 มกราคม ค.ศ. 2011). "Violent Clashes Mark Protests Against Mubarak's Rule". เดอะนิวยอร์กไทมส์.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ "Estimated 2 Million People Protest In _ Around Tahrir Square In Cairo Egypt.mp4 | Current News World Web Source for News and Information". Cnewsworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 20 February 2011.
- ↑ Siddique, Haroon; Owen, Paul; Gabbatt, Adam (25 January 2011). "Protests in Egypt and unrest in Middle East – as it happened". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
- ↑ Fleishman, Jeffrey and Edmund Sanders (Los Angeles Times) (29 January 2011). "Unease in Egypt as police replaced by army, neighbors band against looters". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "Looting spreads in Egyptian cities". Al Jazeera English. 29 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Hauslohner, Abigail (29 January 2011). "The Army's OK with the Protesters, for now". Time.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "Mubarak plays last card, the army; Police vanish". World Tribune (online). 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ Stirewalt, Chris (31 January 2011). "Egypt: From Police State to Military Rule". Fox News. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "Regional Reaction Mixed For Egypt Protests". Eurasia Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-22. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ "Travel warning issued, evacuation to start as protests continue in Egypt". English People's Daily Online. 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
- ↑ Shadid, Anthony; Kirkpatrick, David D. (30 January 2011). "Opposition Rallies to ElBaradei as Military Reinforces in Cairo". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
- ↑ El Deeb, Sarah; Al-Shalchi, Hadeel (1 February 2011). "Egypt Crowds Unmoved by Mubarak's Vow Not To Run". Associated Press (via ABC News). สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Hosni Mubarak resigns as president Al-Jazeera English. 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (อังกฤษ)
- ↑ Yolande Knell. "BBC News - Egypt crisis: President Hosni Mubarak resigns as leader". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (อังกฤษ) - ↑ "Mubarak to be tried for murder of protesters". Reuters. 24 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 24 May 2011.
- ↑ el-Malawani, Hania (13 February 2011). "Egypt's military dismantles Mubarak regime". The Sydney Morning Herald.
- ↑ "Egypt's prime minsiter quits, new govt soon-army". Forexyard.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ http://www.jadaliyya.com/pages/index/1728/reflections-on-egypt-after-march-19
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อิสลาม.in.th : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม เก็บถาวร 2009-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน