ข้ามไปเนื้อหา

การทรมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทรมาน (อังกฤษ: torture) เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางกายหรือจิตใจต่อสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองความปรารถนาบางอย่างของผู้ทรมานหรือบังคับให้สิ่งที่ถูกทรมานกระทำบางอย่าง การทรมานโดยนิยามเป็นการกระทำที่รู้สำนึกและเจตนา ปกติการกระทำโดยไม่รู้สำนึกหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างละเลยโดยปราศจากเจตนาเช่นนั้นไม่ถือเป็นการทรมาน

ปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือรัฐใช้หรืออนุมัติการทรมานโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน และรูปแบบการทรมานมีระยะเวลาได้หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงหลายวันหรือกว่านั้น สาเหตุของการทรมานนั้นมีได้ตั้งแต่การลงโทษ การล้างแค้น การล้างสมอง การป้องปราม การบีบบังคับผู้เสียหายหรือบุคคลอื่น การสอบสวนเพื่อล้วงสารสนเทศหรือคำสารภาพโดยไม่คำนึงว่าเป็นเท็จหรือไม่ หรือเป็นเพียงความพึงพอใจแบบซาดิสต์ของผู้ที่ลงมือหรือสังเกตการทรมานนั้น ในกรณีอื่น ผู้ทรมานอาจแตกต่างจากเงื่อนไขของผู้เสียหาย มีการออกแบบการทรมานบางรูปแบบเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางจิตใจหรือทิ้งการบาดเจ็บทางกายหรือหลักฐานน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขณะที่มีการทำลายทางจิตใจอย่างเดียวกัน ผู้ทรมานอาจฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บซึ่งผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ แต่บางครั้งการทรมานทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเจตนาและใช้เป็นโทษประหารชีวิตรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการทรมานซึ่งเจตนาให้ถึงตายอาจยืดออกไปเพื่อให้ผู้เสียหายทุกข์ทรมานมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น การแขวนคอครึ่ง)

แม้บางรัฐอนุมัติการทรมาน แต่กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศของประเทศส่วนใหญ่ห้าม แม้การทรมานมิชอบด้วยกฎหมายและมีการประณามอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีการอภิปรายอยู่ว่าสิ่งใดมีนิยามทางกฎหมายว่าเป็นการทรมาน การทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและข้อ 5 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกาศว่ายอมรับไม่ได้ (แต่ไม่ขัดต่อกฎหมาย) ประเทศภาคีอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 และพิธีสารเพิ่มเติม 1 และ 2 วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1977 ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าจะไม่ทรมานบุคคลที่ถูกจับได้ในการขัดกันด้วยอาวุธ ไม่ว่าระหว่างประเทศหรือในประเทศ การทรมานยังถูกห้ามสำหรับประเทศภาคีสนธิสัญญาอนุสัญญาสหประชาชาติต่อต้านการทรมาน ซึ่ง 158 ประเทศให้สัตยาบัน[1]

การห้ามการทรมานในกฎหมายชาติและระหว่างประเทศมาจากการเห็นพ้องต้องกันว่าการทรมานและการปฏิบัติมิชอบที่คล้ายกันนั้นผิดศีลธรรมตลอดจนใช้ไม่ได้ผล[2] แม้มีอนุสัญญาระหว่างประเทศเหล่านี้แล้ว องค์การซึ่งเฝ้าสังเกตการละเมิดสิทธิมนุษยชน (เช่น องค์การนิรโทษกรรมสากล สภาฟื้นฟูผู้เสียหายทรมานระหว่างประเทศ เสรีภาพจากการทรมาน เป็นต้น) รายงานการใช้อย่างกว้างขวางซึ่งหลายรัฐอนุญาตในหลายภูมิภาคของโลก[3] องค์การนิรโทษกรรมสากลประมาณว่ามีรัฐบาลอย่างน้อย 81 ประเทศทั่วโลกปัจจุบันใช้การทรมาน บางประเทศใช้อย่างเปิดเผย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "United Nations Treaty Collection". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-08. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  2. "Torture and Ill-Treatment in the 'War on Terror'". Amnesty International. 1 November 2005. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008.
  3. Amnesty International Report 2005 เก็บถาวร 2005-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Report 2006เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Report 08: At a Glance". Amnesty International. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2008. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]