การจำแนกประเภทกระดูกหักแผลเปิดของกัสติโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจำแนกประเภทกระดูกหักแผลเปิดของกัสติโล (Gustilo open fracture classification) เป็นระบบการจำแนกประเภทของกระดูกหักแผลเปิดที่เป็นที่นิยมใช้ที่สุด[ต้องการอ้างอิง] สร้างโดย Ramon Gustilo และ Anderson จากนั้นจึงพัฒนาต่อยอดโดย Gustilo, Mendoza และ Williams[1][2][3]

ระบบจำแนกประเภทนี้อาศัยพลังงานที่กระทำต่อบาดแผล ความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออ่อน และความรุนแรงของการปนเปื้อน มาใช้ตัดสินความรุนแรงของกระดูกหัก ชนิดของกระดูกหักแผลเปิดที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 1 ไปจนถึง 3C แสดงถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น และรวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ อีกด้วย

Gustilo open fracture Classification
ชนิด (Type) นิยาม
I กระดูกหักแผลเปิด บาดแผลสะอาด ความยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร
II กระดูกหักแผลเปิด บาดแผลความยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร ไม่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง ไม่เป็นรอยคว้าน (avulsion) ไม่เป็นเนื้อเปิด (flap)
III กระดูกหักแผลเปิด มีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง หรือมีชิ้นส่วนกระดูกหลุดหาย รวมถึงกระดูกหักแผลเปิดที่เกิดจากอุบัติเหตุในไร่นา มีการบาดเจ็บของหลอดเลือดที่จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม หรือกระดูกหักแผลเปิดเกิดมานานกว่า 8 ชั่วโมง ก่อนได้รับการรักษา
IIIA กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีเยื่อหุ้มกระดูกคลุมกระดูกได้ทั้งหมด แม้จะมีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง
IIIB กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง มีการสูญหายของเยื่อหุ้มกระดูก มักมีการปนเปื้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหาเนื้อเยื่ออื่นมาเสริมที่แผล (เช่น free หรือ rotational flap)
IIIC กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดแดงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับลักษณะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน

อ้างอิง[แก้]

  1. Rüedi, etc. all; Thomas P. Rüedi; Richard E. Buckley; Christopher G. Moran (2007). AO principles of fracture management, Volume 1. Thieme. p. 96. ISBN 978-3-13-117442-0.
  2. Gustilo RB, Anderson JT. Prevention of infection in the treatment of one thousand and twenty-five open fractures of long bones: Retrospective and prospective analyses. J Bone Joint Surg Am. 1976;58:453–8
  3. Gustilo RB, Mendoza RM, Williams DN. Problems in the management of type III (severe) open fractures: A new classification of type III open fractures. J Trauma. 1984;24:742–6.