การจำกัดแคลอรี
การจำกัดแคลอรีหรือการจำกัดพลังงานเป็นข้อกำหนดอาหารที่ลดการบริโภคแคลอรีโดยไม่ก่อให้เกิดทุพโภชนาการหรือการลดสารอาหารสำคัญ "การลด" สามารถนิยามโดยสัมพัทธ์กับการบริโภคเดิมของผู้ป่วยก่อนจำกัดแคลอรีโดยเจตนา หรือโดยสัมพัทธ์กับบุคคลที่มีลักษณะรูปร่าง (body type) เดียวกัน
ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด การจำกัดแคลอรีโดยไม่ก่อให้เกิดทุพโภชนาการอาจชะลอกระบวนการเปลี่ยนตามวัยทางชีววิทยา ส่งผลให้มีการธำรงสุขภาพเยาว์และการเพิ่มอายุขัยค่ากลางและสูงสุด[1][2] ทว่า ไม่มีการแสดงว่าฤทธิ์ยืดอายุของการจำกัดแคลอรีมีผลสากล[3] ในมนุษย์ ยังไม่ทราบผลต่อสุขภาพระยะยาวของการจำกัดแคลอรีปานกลางที่มีสารอาหารเพียงพอ[4] ความร่วมมือของสถาบันการเปลี่ยนตามวัยแห่งชาติสหรัฐกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซินพบว่า การจำกัดแคลอรีโดยไม่มีทุพโภชนาการในลิงวอกยืดอายุขัยและชะลอการเริ่มต้นของโรคที่สัมพันธ์กับอายุ กล่าวคือ อายุมาก คุณภาพอาหารสูงและเพศเมียเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประโยชน์จากการลดการบริโภคแคลอรี[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Omodei, D; Fontana, L (Jun 6, 2011). "Calorie restriction and prevention of age-associated chronic disease". FEBS Lett. 585 (11): 1537–42. doi:10.1016/j.febslet.2011.03.015. PMC 3439843. PMID 21402069. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
- ↑ Anderson, R. M.; Shanmuganayagam, D.; Weindruch, R. (2009). "Caloric Restriction and Aging: Studies in Mice and Monkeys". Toxicologic Pathology. 37 (1): 47–51. doi:10.1177/0192623308329476. PMC 3734859. PMID 19075044.
- ↑ "Can We Prevent Aging?". National Institute on Aging, US National Institutes of Health, Bethesda, MD. 29 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2016.
- ↑ Spindler, Stephen R. (2010). "Biological Effects of Calorie Restriction: Implications for Modification of Human Aging". The Future of Aging. pp. 367–438. doi:10.1007/978-90-481-3999-6_12. ISBN 978-90-481-3998-9.
- ↑ Mattison, Julie A; Colman, Ricki J; Beasley, T Mark; Allison, David B; Kemnitz, Joseph W; Roth, George S; Ingram, Donald K; Weindruch, Richard; De Cabo, Rafael; Anderson, Rozalyn M (2017). "Caloric restriction improves health and survival of rhesus monkeys". Nature Communications. 8: 14063. doi:10.1038/ncomms14063. PMC 5247583. PMID 28094793.