การจลาจลข้าว ค.ศ. 1918
การจลาจลข้าว ค.ศ. 1918 (ญี่ปุ่น: 米騒動; โรมาจิ: kome sōdō) เป็นการจลาจลซึ่งพลเมืองชาวญี่ปุ่นก่อขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมาซาตาเกะ เทราอูจิ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1918 และเป็นผลให้รัฐบาลสิ้นสุดลง
สาเหตุ
[แก้]ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งเกิดจากภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบท ประชาชนมีข้าวเป็นอาหารหลักเป็นประจำวัน ทำให้ชาวนาต่างโกรธแค้นและตำหนิที่รัฐบาล และพ่อค้าข้าวที่ปล่อยราคาข้าวให้สูงขึ้น การเพิ่มราคาของข้าวเป็นผลทำให้ราคาของสิ่งหลายสิ่งเพิ่มขึ้นตาม เช่น อาหาร และค่าเช่า ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สาเหตุนี้เป็นปัญหาสำหรับชาวญี่ปุ่น อีกทั้งมีการรุกรานของไซบีเรีย (Siberian Intervention) ทำให้เกิดสิ่งยุ่งยากเข้าไปอีก เพราะว่ารัฐบาลญี่ปุ่นต้องเอาข้าวปริมาณมหาศาลไปเลี้ยงกองทัพทหารที่ต้องออกไปอยู่นอกประเทศ สิ่งนี้ทำให้ราคาข้าวยิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ทางรัฐบาลไม่สามารถหยุดการเพิ่มราคาได้ และได้แพร่ขยายเข้าไปในเมืองและหมู่บ้านต่างๆ[1]
การจลาจล
[แก้]การจลาจลข้าวเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดและรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคใหม่ และได้มีการแพร่ขยายไปทั้งประเทศ การประท้วงครั้งแรกเกิดขึ้นในเมืองประมงเล็ก ๆ ชื่ออูโอซุ จังหวัดโทยามะ ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 เริ่มต้นจากการชุมนุมอย่างสันติ แต่การประท้วงก็กลายเป็นการก่อจลาจล การปะทะกับตำรวจ การปล้นสะดม การวางเพลิงและวางระเบิด สถานีตำรวจและสำนักงานรัฐบาลถูกโจมตีด้วยอาวุธต่าง ๆ นานา โดยในกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 1918 เกิดการประท้วงมากกว่า 623 แห่งในนคร 38 แห่ง เมือง 153 แห่งและหมู่บ้าน 177 แห่ง ซึ่งมีผู้ประท้วงและก่อจลาจลมากกว่า 2 ล้านคน โดย 25,000 คนถูกจับกุม และ 8,200 คนถูกพิพากษาในคดีอาชญากรรม โดยการลงโทษมีตั้งแต่โทษเบาคือการปรับเงิน และโทษหนักสุดคือประหารชีวิต[1]
นายกรัฐมนตรีเทราอูจิและคณะรัฐมนตรีถูกวิพากวิจารณ์และตำหนิจากการเกิดเหตุการณ์จลาจล และได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1918
จากการจลาจลครั้งนี้ทำให้เกิดการขยายตัวของการจ้างงานในประเทศอื่นที่อยู่ในการปกครองของญี่ปุ่นในสมัยนั้น มีหลักฐานของการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวในประเทศไต้หวันและเกาหลี (เมื่อสองประเทศนี้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น) [2]
อ้างอิง
[แก้]- Beasley, W.G. (1991). Japanese Imperialism 1894-1945. Oxford University Press. ISBN 0198221681.
- MacPherson, WJ (1995). The Economic Development of Japan 1868-1941. Cambridge University Press. ISBN 0521557925.
- Smitka, Michael (1998). Japanese Prewar Growth (Japanese Economic History 1600-1960). Routledge. ISBN 0815327056.
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Macpherson, W. J. (1995). The economic development of Japan, 1868-1941. Cambridge University Press. ISBN 0521557925.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Smitka, Japanese Prewar Growth (Japanese Economic History 1600-1960) , page 192