กาญจนา กาญจนสุต
กาญจนา กาญจนสุต | |
---|---|
สัญชาติ | ไทย |
รางวัล | อินเทอร์เน็ต ฮอลล์ ออฟ เฟม, 2556 โจนาธาน บี โพสเทล เซอร์วิช อวอร์ด, 2559 |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
สถาบันที่ทำงาน | สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNICF) |
ศาสตราจารย์ กาญจนา กาญจนสุต เป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวไทย ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นผู้บุกเบิกการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่ใช้อีเมล เป็นโฮสต์เซิร์ฟเวอร์แรกในประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และใน พ.ศ. 2531 กาญจนาเป็นผู้นำโดเมน .th ขึ้นจดทะเบียนเป็นโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศประจำประเทศไทย ศาสตราจารย์กาญจนาได้รับการเสนอชื่อเข้าหอเกียรติยศ อินเทอร์เน็ต ฮอลล์ ออฟ เฟม โดยประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล พ.ศ. 2556 และได้รับรางวัลโจนาธาน บี โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด พ.ศ. 2559 ศาสตราจารย์ กาญจนา ได้รับสมญานามในวงการอินเทอร์เน็ตว่าเป็น มารดาแห่งอินเทอร์เน็ตไทย[1]
ชีวิตในวัยเยาว์ และการศึกษา
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2517 กาญจนาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ พร้อมด้วยประกาศนียบัตรเพิ่มเติมด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งควีนส์แลนด์ (University of Queensland) ประเทศออสเตรเลีย และใน พ.ศ. 2522 ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น (University of Melbourne) จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลังจากนั้น พ.ศ. 2534 ก็ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น[2]
อาชีพ การทำงาน
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น เมื่อ พ.ศ. 2527 กาญจนาก็ได้เริ่มทำงานที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)[3] ในปี พ.ศ. 2529 กาญจนาได้เชื่อมต่อระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อส่งอีเมลในขณะที่ทำงานที่ AIT ไปยังมหาวิทยาลัยที่เมลเบิร์นและโตเกียว นับเป็นบุคคลแรกที่นำการใช้อีเมลล์เข้ามาในประเทศไทย[4] After establishing connections to the universities in 1987,[5] และได้จัดตั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2530 และในปีถัดมากาญจนาก็เป็นคนไทยที่โฮสต์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์แรกของประเทศไทยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต และอีเมลก็ได้ขยายวงกว้างออกไปในสังคมไทย[6] ศาสตราจารย์กาญจนาก็ได้รับเลือกให้เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเป็นอาจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สถาบันดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน
ศาตราจารญ์กาญนาได้ก่อตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ที่ดูแลบริหารโดเมน .th และ .ไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งมีศาสตราจารย์กาญจนาเป็นผู้ดูแลระบบ (แอดมิน) นำโดเมนดังกล่าวขึ้นจดทะเบียนเป็นโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศประจำประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัย (intERLab) ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเป็นผู้ร่วมสร้างศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet exchange point) แห่งแรกของไทยที่กรุงเทพมหานคร (BKNIX) ในปี พ.ศ. 2556 [1]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2556 ประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล ได้เสนอชื่อ กาญจนา กาญจนสุต เข้าในหอเกียรติยศ อินเทอร์เน็ต ฮอลล์ ออฟ เฟม (INTERNET HALL of FAME) ในฐานะผู้บุกเบิก (PIONEER) การใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทย และภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้[7] ต่อมา พ.ศ. 2559 ก็ได้รับรางวัล โจนาธาน บี โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด (Jonathan B. Postel Service Award) ที่จัดตั้งโดยประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล มอบให้เพื่อยกย่องผลงานการอุทิศตน การพัฒนาการขยายความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตในภูมิถาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 matichon (2016-11-17). "โลกยกย่อง ศ.กาญจนา กาญจนสุต ผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตประเทศไทย อุทิศตนผลงานเยี่ยมระดับสากล". มติชนออนไลน์.
- ↑ "School of Engineering and Technology". Asian Institute of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-30. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ Prammanee, Noppadol (6 January 2003). "A Critical Analysis of the Adoption and Utilization of the Internet in Thailand for Educational Purposes". First Monday. 8 (1). doi:10.5210/fm.v8i1.1021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ Palasri, Sirin; Huter, Steven G.; Wenzel, Zita (1999). The History of the Internet in Thailand (PDF). University of Oregon Books. p. 9. ISBN 0871142880. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ Suriyasarn, Busakorn. Analysis of Thai Internet and Telecommunications Policy Formation during the Period 1992-2000 (Doctor of Philosophy). Ohio University. p. 109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
- ↑ "AIT's Prof. Kanchana inducted into global Internet Hall of Fame". Asian Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
- ↑ "Kanchana Kanchanasut | Internet Hall of Fame". www.internethalloffame.org.
- ↑ "Kanchana Kanchanasut Honored with Jonathan B. Postel Service Award". Internet Society (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).